วันที่นำเข้าข้อมูล 1 ก.ย. 2557
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 27 พ.ย. 2565
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
เซเนกัลเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญของภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก โดยภาคเศรษฐกิจประกอบด้วย
ภาคบริการ (การท่องเที่ยว) ร้อยละ 60
ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 20 และ
ภาคการเกษตรร้อยละ 20 ของรายได้สหประชาชาติ
ภาคเกษตรยังคงเป็นหัวใจของเศรษฐกิจเนื่องจากแรงงานร้อยละ 70 อยู่ในภาคการเกษตร รายได้หลักของประเทศมาจากการส่งออกสินค้าภาคเกษตร อาทิ ถั่วลิสง การประมง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ฟอสเฟต ฝ้าย การท่องเที่ยวและการบริการ
อย่างไรก็ตาม เซเนกัลยังคงพึ่งพาเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ โดยผู้ให้ความช่วยเหลือเซเนกัลประกอบด้วย ฝรั่งเศส กองทุนการเงินระหว่างประเทศ สหภาพยุโรป ธนาคารเพื่อการพัฒนาแอฟริกา USAID ญี่ปุ่น เยอรมนี แคนาดา และหน่วยงานของสหประชาชาติ เป็นต้น
รัฐบาลเซเนกัลได้รับแรงกดดันจากองค์การระหว่างประเทศที่ให้ความช่วนเหลือ โดยเฉพาะ IMF และWorld Bank ให้เปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจของประเทศจากเดิมที่เป็นสังคมนิยมให้เป็นทุนนิยม สนับสนุนการค้าเสรีโดยเริ่มผ่อนคลายมาตรการกีดกันทางการค้า และเปิดเสรีรัฐวิสาหกิจ (privatization)
รัฐบาลเซเนกัลมุ่งดำเนินการปฏิรูปทางเศรษฐกิจโดยเน้น 4 สาขาหลัก ประกอบด้วย นโยบายการคลัง การปฏิรูปโฑครงสร้าง การแก้ไขปัญหาความยากจน และการสนับสนุนภาคเอกชน นอกจากนี้ยังดำเนินแผนการลดความยากจนและการสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Poverty Reduction and Growth Facility: PRGF) 3 ปี ตามที่ IMF ได้ให้ความเห็นชอบแล้วเมื่อเมษายน 2003 โดยเน้นการปฏิรูปภาคการเกษตร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเปิดเสรีกฏหมายแรงงาน (liberalising labour legislation) การกระตุ้นกลไกตลาด การสร้างงานใหม่ และการสนองตอบความต้องการพื้นฐานของผู้ยากไร้ผ่านโครงการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการเพิ่มสมรรถภาพ (Capacity building) การปฏิรูปภาครัฐ ตลอดจนแปรรูปวิสาหกิจ
นอกจ่ากนี้ รัฐบาลได้เริ่มดำเนินโครงการขนาดใหญ่ อาทิ การสร้างสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ การขยายเครื่อข่ายถนนและการพัฒนาท่าเรือ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนของเอกชนทั้งจากท้องถิ่นและต่างประเทศ
ในปี 2006 ประธานาธิบดี Wade ดำเนินนโยบายผลักดันภาคการเกษตรของเซเนกัล โดยใช้แผน REVA (Retour vers I'agriculture) ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากนโยบาย Massive Return towards the Ground ที่ประสงค์จะให้การเกษตรเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเซเนกัล ลดปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาความยากจน เพื่อที่จะลดปัญหาการย้ายถิ่นฐาน และเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรของประเทศเพื่อบรรเทาการขาดแคลนอาหารซึ่งจะมีผลสืบเนื่องไปถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับผลิตผลจากการเกษตรของประเทศ
แผน REVA มีการนำเทคนิคทางการเกษตรมาใช้โดยคำนึงถึงการพัฒนาแหล่งน้ำ การควบคุมการให้น้ำ การให้ความเข้าใจและมีส่วนร่วมของชุมชน แผนนี้ยังมีจุดประสงค์เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าอาหารจากต่างประเทศอีกด้วย ทั้งนี้ รัฐบาลได้จัดตั้งองค์กรที่มีบทบาทส่งเสริมแผนดังกล่าว โดยตั้ง National Agency of Management of REVA ตั้งศุนย์ฝึกอบรมการผลิต ศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านการเกษตรและศูนย์ส่งเสริมการตลาดและการส่งออก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เซเนกัลยังขาดความพร้อมด้านอุปกรณ์และการพัฒนาคน
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 8.331 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (CIA: 2006)
อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 6.0% (2006)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 2.1 (2006)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 687 ดอลลาร์สหรัฐ (2006)
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ปลา ฟอสเฟต แร่เหล็ก
ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่สำคัญ ถั่วลิสง ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ข้าว ฝ้าย มะเขือเทศ ผักใบเขียว ปศุสัตว์ สัตว์ปีก สุกร ปลา
อุตสาหกรรมที่สำคัญ เกษตรกรรม การแปรรูปปลา เหมืองแร่ฟอสเฟต อุตสาหกรรมปิโตรเลียม การผลิตปุ๋ย อุปกรณืก่อสร้าง อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมแซมเรือ
หนี้สินต่างประเทศ 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2006)
เงินตราสำรอง 1,334.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2006)
มูลค่าการค้า เสียดุล 977.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2006)
มูลค่าการส่งออก 1,478 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (CIA: 2006)
มูลค่าการนำเข้า 2,980 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (CIA: 2006)
สินค้าออกที่สำคัญ ปลา ถั่วลิสง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ฟอสเฟต ฝ้าย
สินค้าเข้าที่สำคัญ อาหารและเครื่องดื่ม สินค้าทุน เชื้อเพลิง
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
ส่งออก มาลี ร้อยละ 18.5 อินเดีย ร้อยละ 14.3 ฝรั่งเศส ร้อยละ 6.9 อิตาลี ร้อยละ 5.1 แกมเบีย ร้อยละ 5 (CIA: 2006)
นำเข้า ฝรั่งเศส ร้อยละ 21.3 ไนจีเรีย ร้อยละ 10.6 UK ร้อยละ 8.9 เนเธอร์แลนด์ ร้อยละ 4.9 จีน ร้อยละ 4.8 ไทย ร้อยละ 4.3 บราซิล ร้อยละ 4.1 (CIA: 2006)
หน่วยเงินตราเซฟาฟรังก์ (CFAF) โดย 1 เซฟาฟรังก์ เท่ากับ 100 ซังตีมส์(centimes)
อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 523.64 CFA Francs (2549)