วันที่นำเข้าข้อมูล 2 ก.ย. 2558
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565
“ข้าวไทยในแอฟริกาตะวันตก”
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์
อีเมล์ [email protected]
ข้าวหอมมะลิหักของไทยยังครองความนิยมอย่างแพร่หลายในเซเนกัลรวมถึงอีกหลายประเทศ ในแอฟริกาตะวันตก ด้วยเอกลักษณ์ในความหอม นุ่มและอร่อย ทำให้ข้าวหอมมะลิหักของไทยเหมาะกับการประกอบอาหารพื้นเมืองของชาวแอฟริกาตะวันตก ส่งผลให้ข้าวหอมมะลิหักของไทยเป็นข้าวที่มีความต้องการเป็นอย่างมาก ถึงแม้จะมีราคาสูงแต่ก็สามารถคงส่วนแบ่งทางการตลาดข้าวในเซเนกัลและแอฟริกาตะวันตกจาก ข้าวบาสมาตีของอินเดีย ข้าวญี่ปุ่น ข้าวหอมเวียดนาม แม้กระทั่งข้าวที่ปลูกภายในประเทศ ปัจจุบัน เซเนกัลมีอัตราการบริโภคข้าวมากเป็นอันดับ 1ในอนุภูมิภาคซับซาฮาร่า โดยชาวเซเนกัลบริโภคข้าวโดยเฉลี่ยที่ 84 กิโลกรัม/คน/ปี และในปี 2555 ชาวเซเนกัลบริโภคข้าวรวมกว่า 1.4 ล้านตัน ซึ่งเป็นผลผลิตภายในประเทศร้อยละ 30 และนำเข้าข้าวจากต่างประเทศร้อยละ 70 มีปริมาณการนำเข้าข้าวจากประเทศไทยคิดเป็นร้อยละ 16 ของปริมาณการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ
นโยบายความมั่นคงทางอาหารของเซเนกัล
รัฐบาลเซเนกัลเร่งส่งเสริมนโยบายการเกษตรภายใต้โครงการพัฒนาความมั่นคงทางอาหารในเรื่องการปลูกข้าว (National Rice Self-sufficiency Programme – PNAR) ตามแผนการพัฒนาของเซเนกัล (The Emerging Senegal Plan – PSE) โดยตั้งเป้าว่าภายในปี 2560 เซเนกัลจะผลิตข้าวได้จำนวน 1 ล้านตันต่อปี ในพื้นที่เพาะปลูก 350,000 เฮกตาร์ โดยครึ่งปี 2558 เซเนกัลสามารถทำการเพาะปลูกข้าวในเขตเพาะปลูกทางตอนเหนือได้กว่า 36,000 เฮกตาร์ แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการในการบริโภคข้าวที่มีแนวโน้มเพิ่มปริมาณขึ้นจาก 79 กิโลกรัม/คน/ปี เป็น 91 กิโลกรัม/คน/ปี เนื่องจากข้อจำกัดต่าง ๆ อาทิ ฤดูการเพาะปลูกที่สั้น ขาดแรงงานที่ต้องการทำงานในภาคการเกษตร ขาดเครื่องจักรกลทางการเกษตร เมล็ดพันธุ์ข้าวมีราคาสูง ขาดผู้ประกอบการเอกชนเข้าลงทุนสร้างโรงสีข้าว การบริหารจัดเก็บและกระจายข้าวสู่ตลาดอย่างเป็นระบบ
ภาวะตลาดข้าว
ตลาดข้าวเซเนกัล ข้าวที่ขายในเซเนกัล ประกอบด้วย 1) ข้าวที่ปลูกในเซเนกัลส่วนใหญ่จำหน่ายในบริเวณพื้นที่เพาะปลูก ราคาข้าวเฉลี่ยกิโลกรัมละ 15 บาท 2) ข้าวนำเข้าส่วนใหญ่เป็นข้าวหัก (broken rice) มีจำหน่ายตามร้านค้าต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทุกพื้นที่ของประเทศ ราคาเฉลี่ย 17 บาท/ กิโลกรัม ปัจจุบัน ตลาดข้าวในเซเนกัลมีการปรับราคาสูงขึ้นตามความต้องการในการบริโภคข้าวที่เพิ่มขึ้น และมีการจัดทำบรรจุภัณฑ์ในรูปแบบที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ได้แก่ ข้าวหอมมะลิบรรจุกล่อง/ถุงสูญญากาศขนาด 1 กิโลกรัม (สำหรับตลาดพรีเมียม) ข้าวหอมมะลิหักและข้าวเสาไห้บรรจุถุงพลาสติกขนาด 5 กิโลกรัม และข้าวหักบรรจุถุงขนาด 25 กิโลกรัมและบรรจุกระสอบขนาด 50 กิโลกรัม ทั้งนี้ ราคาขายปลีกข้าวบรรจุถุงสำเร็จในกรุงดาการ์จะมีราคาที่สูงกว่า
ในต่างจังหวัด โดยมีราคาขายปลีก ดังนี้
ชนิดของข้าว |
ประเทศผู้ผลิต |
ขนาด |
ราคาขายปลีก: บาท (___ FCFA) |
ข้าวหอมมะลิหัก |
ไทย |
บรรจุถุง 5 ก.ก. |
285 (4,700 FCFA) |
ข้าวบาสมาตีเกรดพรีเมียม |
อินเดีย |
บรรจุกล่อง 1 ก.ก. |
160 (2,600 FCFA) |
ข้าวหอมมะลิหัก |
เวียดนาม |
บรรจุถุง 5 ก.ก. |
230 (3,800 FCFA) |
ข้าวกลมเต็มเม็ด |
ญี่ปุ่น |
แบ่งขายตามน้ำหนัก |
35 บาท/กก. (580 FCFA) |
ข้าวขาวเต็มเม็ด |
เซเนกัล |
บรรจุถุง 5 ก.ก. |
148 (2,400 FCFA) |
ถึงแม้ว่าข้าวนำเข้าจะมีราคาที่สูงกว่าข้าวที่ปลูกได้ในประเทศ ชาวเซเนกัลยังคงนิยมในการบริโภคข้าวนำเข้าโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิหัก ซึ่งสามารถหาซื้อง่ายและมีคุณภาพตรงตามรสนิยมในการบริโภค แม้กระทั่งผู้ที่มีรายได้น้อยก็จะซื้อข้าวหอมมะลิหักขนาด 1-5 กิโลกรัม เพื่อใช้ในโอกาสวันสำคัญ ๆ ทำให้ข้าวหอมมะลิหักของไทยยังสามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดข้าวในเซเนกัลและแอฟริกาตะวันตกได้อย่างต่อเนื่อง
ตลาดข้าวแอฟริกาตะวันตก ความต้องการบริโภคข้าวของชาวแอฟริกาตะวันตกมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ 1) บูร์กินาฟาโซ จาก 26 ก.ก./ปี เพิ่มเป็น 31 ก.ก./ปี 2) โกตดิวัวร์ จาก 71 ก.ก./ปี เพิ่มเป็น 94 ก.ก./ปี 3) มาลี จาก 93 ก.ก./ปี เพิ่มเป็น 99 ก.ก./ปี โดยในประเทศโกตดิวัวร์ข้าวที่ผลิตและนำเข้าประกอบด้วย ข้าวคุณภาพต่ำ (ร้อยละ 20) ข้าวคุณภาพปานกลาง (semi luxury rice - ร้อยละ 78) และข้าวเกรดพรีเมียม (luxury rice - ร้อยละ 2) ในเดือน ม.ค. 2558 โกตดิวัวร์ นำเข้าข้าวจำนวนกว่า 98,000 ตัน ซึ่งไทยครองส่วนแบ่งทางการตลาดข้าวมากที่สุดที่ร้อยละ 37 ตามด้วยปากีสถาน และเวียดนามที่มีส่วนแบ่งการตลาดข้าวที่ร้อยละ 32 และร้อยละ 25 ตามลำดับ ทั้งนี้ บริษัทผู้นำเข้าข้าวไปยังโกตดิวัวร์ที่สำคัญ คือ บ. SDTM (ครองส่วนแบ่งการตลาดที่ร้อยละ 46) และ บ. Olam Ivoire ครองส่วนแบ่งการตลาดที่ร้อยละ 6.5) โดยราคาข้าวสารในตลาดมีราคาขายที่ 150 ฟรังก์เซฟา/ก.ก. (9 บาท/ก.ก.) และราคาข้าวเปลือกมีราคาขายที่ 350 ฟรังก์เซฟา/ก.ก. (ประมาณ 20 บาท/ก.ก.)
โอกาสของไทย
ข้าวหอมมะลิหักของไทย (broken jasmine rice) เป็นที่นิยมแต่มีข้อจำกัดในเรื่องราคาที่สูงกว่าข้าวประเทศอื่น ๆ ทำให้ส่วนแบ่งการตลาดข้าวของไทยจากเดิมที่ร้อยละ 42 ในปี 2553 ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 16 ในปี 2555 เนื่องจาก ข้าวไทยส่วนใหญ่ส่งออกข้าวผ่านพ่อค้าคนกลางในยุโรป/ อเมริกา ก่อนส่งออก (Re-export) ไปยังเซเนกัลและประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกาตะวันตก ทำให้ราคาข้าวไทยปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับข้าวจากของอินเดียที่ผู้นำเข้าเซเนกัลนำเข้าข้าวโดยตรงจากพ่อค้า (trader) และระยะทางในการขนส่งที่ใกล้กว่าไทย ทำให้ได้ข้าวที่ราคาถูก อย่างไรก็ดี ด้วยคุณภาพและเอกลักษณ์ของข้าวหอมมะลิไทยส่งผลให้ข้าวไทยเป็นข้าวคุณภาพระดับพรีเมียมที่ยังคงสามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดข้าวในเซเนกัลได้
นอกจากโอกาสของในการส่งออกข้าวมายังเซเนกัลและแอฟริกาตะวันตกแล้วไทยยังสามารถขยายตลาดส่งออกสินค้าเกี่ยวเนื่องต่าง ๆ ไปยังเซเนกัลได้ ดังนี้
1. เมล็ดพันธุ์ข้าว โดยราคาขายในประเทศอยู่ที่ประมาณ 17 บาท/กิโลกรัม
2. ปุ๋ยสูตรต่าง ๆ ได้แก่ ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ย NPK ปุ๋ย Di-Ammonium Phosphate - DAP โดยในปี 2555 สถิติการซื้อ-ขายปุ๋ยสำหรับการเกษตรของเซเนกัลมีมูลค่ากว่า 21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
3. เครื่องจักรกลการเกษตร อาทิ รถไถ รถดำนา รถเกี่ยวข้าว เครื่องนวดข้าว เครื่องสีข้าว รวมถึง อะไหล่ที่จำเป็นในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลการเกษตร
การส่งออก-นำเข้าสินค้าประเภทต่าง ๆ ไปยังเซเนกัลผู้ประกอบการไทยควรศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้
1. กฎระเบียบ อาทิ การนำเข้าสินค้าไปยังเซเนกัลต้องระบุข้อมูล ดังนี้ 1) จำนวน 2) ปริมาณ
3) ราคาสินค้า และ 4) เลขพิกัดศุลกากร พร้อมใบแสดงการตรวจสอบสินค้านำเข้า-ส่งออก (Prerequisite Declaration of Import – DPI) จากบริษัท SGS หรือ บริษัท BIVAC ซึ่งรัฐบาลเซเนกัลรับรอง และต้องมีใบรายงานการตรวจสินค้า (Pre-shipment inspection clean report of findings – AV) นอกจากนี้ จะมีค่าโกดังสินค้ารวมถึงค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ประมาณ 1,200 – 1,900 ดอลลาร์สหรัฐ และใช้เวลาดำเนินการเอกสารประมาณ 12 - 14 วัน
2. อัตราภาษี กรมศุลกากรเซเนกัลกำหนดอัตราภาษีสินค้าต่าง ๆ ได้แก่ ภาษีศุลกากร (อัตราร้อยละ 0 – 20) ภาษีนำเข้า (อัตราร้อยละ 10-20) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (อัตราร้อยละ 18) และภาษีสรรพสามิต (อัตราร้อยละ 20 – 40) ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าที่จะนำเข้าต่าง ๆ
3. การเงินการธนาคาร ในการดำเนินธุรกิจประเทศในแอฟริกาตะวันตกใช้สกุลเงินฟรังก์เซฟา (XOF - CFA Franc) กำกับดูแลโดยธนาคารกลางประเทศในแอฟริกาตะวันตก (Central Bank of the States of West Africa -BCEAO) โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนผูกติดกับค่าเงินยูโร (1 ยูโร = 655 ฟรังก์เซฟา :2558) การดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศนิยมใช้สกุลเงินยูโรและสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นหลักโดยธนาคารในแอฟริกาตะวันตกจะคิดค่าธรรมเนียมการโอนเงิน (โอนเงินจากเซเนกัลไปประเทศไทยมีค่าธรรมเนียม 67,000 ฟรังก์เซฟา = 4,000 บาท/ครั้ง)
4. คู่ค้าหรือพันธมิตรธุรกิจ ปัจจุบันปรากฎกรณีพิพาทระหว่างผู้ส่งออกข้าวไทย กับ บ. Societe Rahamatoulahi SARL (SRS) ที่ปฏิเสธการชำระเงินค่าข้าวและละทิ้งสัญญา เป็นผลให้กรมศุลกากรเซเนกัลยึดข้าวไทยไว้เพื่อรอการขายทอดตลาดส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทย ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยควรหาคู่ค้าที่มีความน่าเชื่อถือ อาทิ กลุ่มนักธุรกิจในพื้นที่ที่ผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกที่ดำเนินการกับคู่ค้าไทยเป็นระยะเวลานาน กลุ่มพ่อค้าชาวเลบานิสซึ่งเป็นกลุ่มพ่อค้าที่ครองตลาดการค้าของเซเนกัลและแอฟริกาตะวันตกอย่างกว้างขวาง โดยอาจประสานขอรับข้อมูลเพิ่มเติมจากสมาคมชาวเซเนกัลกรุงเทพฯ (AMICALE DES SENEGAL DE BANGKOK “THAILANDE”) ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ +662 255 6937 หรือขอรับข้อมูลบัตรประจำตัว “importer-exporter card” ของผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกเซเนกัลซึ่งออกโดยกระทรวงพาณิชย์เซเนกัลเพื่อเป็นข้อมูลประกอบเบื้องต้น บริษัทเซเนกัลที่นำเข้าข้าวในปัจจุบัน ได้แก่ บริษัท SENCOM บริษัท C.C.M.N และบริษัท TDS และบริษัทผู้นำเข้าข้าวของประเทศในแอฟริกาตะวันตก อาทิ แกมเบีย ที่อาจเป็นช่องทางที่บริษัทไทยสามารถเริ่มติดต่อเพื่อเจาะตลาดเพิ่มมากขึ้นได้ ดังนี้
เซเนกัล |
||||||
บริษัท |
หมายเลขโทรศัพท์ |
|
||||
+221 33 823 34 71 |
||||||
+221 33 821 28 80 |
||||||
C.C.C.S. |
+221 33 889 33 33 |
|||||
C.C.M.M. |
+221 33 821 82 80 |
|||||
SAFCOM |
+221 33 869 30 70 |
|||||
Tiger Denree Senegal - TDS |
+221 33 822 11 19 |
|||||
Novel Senegal |
+221 33 869 06 00 |
|||||
แกมเบีย |
||||||
บริษัท |
หมายเลขโทรศัพท์ |
โทรสาร |
||||
CONTICOM |
+220 422 71 25 |
+220 422 75 79 |
||||
EMKAY |
+220 422 51 95 |
+220 990 36 19 (มือถือ) |
||||
Midland Trading Group Ltd. |
+220 422 74 84 |
+220 422 53 49 |
||||
Shyben A. MDI & Sons |
+220 422 83 03 |
+220 422 73 77 |
||||
Tajco |
+220 420 21 91 |
+220 420 21 90 |
||||
บูร์กินาฟาโซ |
มาลี |
|
||||
บริษัท |
หมายเลขโทรศัพท์ |
บริษัท |
หมายเลขโทรศัพท์ |
|
||
L’eau vive |
+226 21 333 512 |
Tamali |
+223 21 212 826 |
|
||
Prome export |
+226 21 310 078 |
Tannerie Afrique Quest |
+223 21 224 470 |
|
||
CNEA |
+226 21 340 305 |
Tonoba |
+223 21 295 763 |
|
||
Etude Maitre Ouattara S. |
+226 20 971 735 |
STE GLE CCE Ind. Malien |
+223 21 215 044 |
|
||
Etude Maitre Kale O. |
+226 21 301 854 |
Agro Tropic SURL |
+223 21 236 946 |
|
||
Fadoul Diacta Materiado |
+226 20 970 961 |
CMDT |
+223 21 212 462 |
|
||
โกตดิวัวร์ |
โตโก |
|
||||
บริษัท |
หมายเลขโทรศัพท์ |
บริษัท |
หมายเลขโทรศัพท์ |
|
||
SDTM |
+225 21 219 000 |
Transahel International |
+228 222 52 18 |
|
||
Olam Ivoire |
+225 21 214 141 |
Samex |
+228 221 40 00 |
|
||
Peyrssac |
+225 21 216 419 |
Sekef Groupe |
+228 222 01 30 |
|
||
Lotus Import |
+225 21 254 985 |
Acouety Alain |
+228 221 77 48 |
|
||
Pleces Import Express |
+225 21 261 746 |
Amorn Badohu Adzowo |
+228 221 15 93 |
|
||
5. งานแสดงสินค้าระหว่างประเทศ ผู้ประกอบการไทยอาจพิจารณาเข้าร่วมงานแสดงสินค้าระหว่างประเทศในแอฟริกาตะวันตก อาทิ International Fair of Dakar /Foire internationale de Dakar: (FIDAK) ซึ่งเป็นมหกรรมการแสดงสินค้าและบริการระหว่างประเทศขนาดใหญ่ของแอฟริกาตะวันตกที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ ศูนย์แสดงสินค้ากรุงดาการ์ ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการนำเสนอสินค้าไทยในตลาดเซเนกัลที่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายได้ในวงกว้างต่อไป
6. ประชาคมเศรษฐกิจแอฟริกาตะวันตก (ECOWAS) นอกจากข้าวแล้วกลุ่มประเทศ ECOWAS (15 ประเทศ) มีความต้องการนำสินค้าเข้าจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยสินค้านำเข้า 10 อันดับ ที่สำคัญ คือ 1) น้ำมันเชื้อเพลิง 2) ยานพาหนะ 3) เครื่องยนต์และอะไหล่ 4) เครื่องจักร 5) เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 6) ข้าวและเมล็ดธัญพืช 7) ผลิตภัณฑ์พลาสติก 8) เหล็กกล้า 9) ยารักษาโรค และ 10) อาหารทะเล อย่างไรก็ดี การส่งสินค้าไปยังกลุ่ม ECOWAS อาจต้องคำนึงถึงกฎระเบียบของกลุ่มควบคู่ไปกับกฎระเบียบภายในประเทศของประเทศแอฟริกาตะวันตกแต่ละประเทศด้วย
ทั้งนี้ สามารถรับข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการพิจารณาก่อนส่งออกสินค้าจากประเทศไทยได้ ดังนี้
หน่วยงาน |
เว็บไซต์ |
กระทรวงพาณิชย์ฯ เซเนกัล |
http://www.commerce.gouv.sn/ |
กรมศุลกากรเซเนกัล |
http://www.douanes.sn |
การท่าเรือเซเนกัล |
http://www.portdakar.sn/ |
กรมสรรพากรเซเนกัล |
http://www.impotsetdomaines.gouv.sn/ |
สภาหอการค้าเซเนกัล |
http://www.cciad.sn |
สำนักงานส่งเสริมการลงทุนเซเนกัล |
http://investinsenegal.com/ |
สมุดหน้าเหลืองผู้ประกอบการเซเนกัล |
http://www.pagesjaunesdusenegal.com |
ธนาคารกลางประเทศแอฟริกาตะวันตก |
http://www.bceao.int |
งานแสดงสินค้า FIDAK |
http://www.cices-fidak.com |
รัฐบาลเซเนกัล |
http://www.gouv.sn/ |
ประชาคมเศรษฐกิจแอฟริกาตะวันตก |
http://www.ecowas.int/ |
อ้างอิง: Senegal Rice Value Chain Analysis, MDG Center West and Central Africa, Dakar
Senegal Grain and Feed Annual 2015, USDA GAIN Report, USDA Foreign Agricultural Service
*************
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์
กันยายน 2558
รูปภาพประกอบ