วันที่นำเข้าข้อมูล 15 ก.ย. 2562
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565
การขอจดทะเบียนหย่า
การจดทะเบียนหย่าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ จะกระทำได้เฉพาะ
1. การจดทะเบียนระหว่างบุคคลสัญชาติไทย หรือ
2. ระหว่างบุคคลสัญชาติไทยกับต่างชาติ
ซึ่งเป็นการจดทะเบียนตามกฎหมายไทยเท่านั้น
การสมรสสิ้นสุดลงด้วยเหตุ 3 ประการ (ป.พ.พ. มาตรา 1501) ดังนี้
1. ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย
2. ได้จดทะเบียนหย่าแล้ว
3. ศาลพิพากษาให้ถอนการสมรส
การหย่ากระทำได้ 2 วิธี (ป.พ.พ. มาตรา 1514) ดังนี้
1. การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย
2. การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
การจดทะเบียนหย่ามี 2 วิธี ดังนี้
1. จดทะเบียนหย่าสำนักทะเบียนเดียวกัน คู่หย่าทั้งสองฝ่ายต้องไปแสดงตน
ณ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์ ในวันและเวลาเดียวกัน
2. จดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน ทำได้เมื่อคู่หย่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมิได้พำนักอยู่ในประเทศเดียวกัน
หรือคู่หย่าอีกฝ่ายมิได้พำนักอยู่ในประเทศในเขตอาณาของสถานเอกอัครราชทูต
การหย่าต่างสำนักทะเบียน คู่หย่าที่พำนักอยู่ในประเทศไทย สามารถติดต่อยื่นคำร้องก่อน
(สำนักทะเบียนที่ 1) ได้ที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ ในเขตที่ท่านพำนักอยู่
หรือกรณีที่คู่หย่าที่พำนักอยู่ในประเทศในเขตอาณาของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์
มีความประสงค์จะยื่นร้องคำร้องก่อน สามารถยื่นเรื่องได้ ณ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์
เอกสารที่ใช้
1. ต้นฉบับทะเบียนสมรส พร้อมสำเนา 1 ชุด
2. บัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทางตัวจริงของทั้งสองฝ่าย พร้อมสำเนา 1 ชุด
3. ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา 1 ชุด
4. คำร้องขอนิติกรณ์
5. คำร้องขอจดทะเบียนหย่า
6. ใบเปลี่ยนชื่อและ/หรือนามสกุล (ในกรณีมีการเปลี่ยนแปลง) พร้อมสำเนา 1 ชุด
7. คำพิพากษาและหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด (กรณีจดทะเบียนหย่าตามคำพิพากษา)
การดำเนินการ โปรดโทรนัดหมายกับเจ้าหน้าที่สถานทูตที่หมายเลขโทรศัพท์ +221 33 869 32 90
1. ยื่นคำร้อง แสดงหลักฐานตามเอกสารที่ใช้ พร้อมด้วยพยาน 2 คน
2. บันทึกการสอบปากคำไว้เป็นหลักฐาน (กรณีหลักฐานไม่เพียงพอ)
ค่าธรรมเนียม ไม่มีค่าธรรมเนียม
หลังการจดทะเบียนหย่า
ฝ่ายหญิงต้องยื่นเรื่องขอเปลี่ยนนามสกุลในเอกสารไทย เช่น
- หนังสือเดินทาง
- บัตรประจำตัวประชาชน
- ทะเบียนบ้านฯลฯ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
**********************