วันที่นำเข้าข้อมูล 28 มิ.ย. 2555
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 27 พ.ย. 2565
การผลิตและการบริโภคถั่วเหลืองและข้าวโพดในประเทศ
- ระหว่างเดือน เมษายน 2551- มกราคม 2552 ซึ่งเป็นฤดูการเกษตรของเซเนกัล
เซเนกัลได้ใช้พื้นที่ในการเพาะปลูกข้าวโพดประมาณ 225,160.8 Hectare
และสามารถปลูกข้าวโพดได้โดยเฉลี่ยประมาณ 1,827.6 กิโลต่อหนึ่ง Hectare
โดยในช่วงเวลาดังกล่าวสามารถปลูกข้าวโพดได้ 411,499.3 ตัน
- ในปี 2551 ประชากรเซเนกัลได้บริโภคข้าวข้าวโพดประมาณ 200,000 ตัน
การนำเข้าข้าวโพดและถั่วเหลืองจากต่างประเทศ
ข้าวโพด - เซเนกัลยังต้องพิ่งพาการนำเข้าข้าวโพดสำหรับเป็นอาหารสัตว์ โดยในปี 2547 และ 2548
นำเข้าข้าวโพดจากต่างประเทศเป็นจำนวน 146,000 ตัน ซึ่งนำมาใช้เป็นอาหารเลี้ยงไก่ (poultry feed)
ถั่วเหลือง - เซเนกัลมีการผลิตบริโภคและใช้เป็นอาหารสัตว์น้อยมาก แต่มีการใช้น้ำมันถั่วเหลืองจำนวนมาก
โดยในปี 2548 และ 2549 เซเนกัลได้นำเข้าน้ำมันถั่วเหลืองเป็นเงินจำนวน 49 พันล้านฟรังก์เซฟา (ประมาณ 3,400 ล้านบาท)
พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดและถั่วเหลือง
ยังไม่มีการประเมินว่ามีพื้นที่สำหรับการปลูกถั่วเหลืองและข้าวโพดที่ชัดเจน
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรเซเนกัลได้ประเมินว่าเนื่องจากได้มีการสร้างเขื่อน 2 แห่ง
ในบริเวณแม่น้ำ Senegal และมีการพัฒนาพื้นที่สำหรับการเกษตรในบริเวณแม่น้ำ Gambia
และแม่น้ำ Casamance เซเนกัลจึงน่ามีพื้นที่ที่อุดมสมบรูณ์และเหมาะสำหรับการเพาะปลูกเพิ่มขึ้น
กว่า 600,000 Hectare อย่างไรก็ตาม คงจะขึ้นอยู่กับความสามารถของเซเนกัล
ที่จะสร้างระบบชลประทานในพื้นที่ดังกล่าวได้หรือไม่
การผลิตและบริโภคเนื้อสัตว์ในประเทศ โดยเฉพาะเนื้อไก่ ไข่ไก่และเนื้อสุกร
ในปี 2549 มีการผลิตเนื้อสัตว์ในประเทศเซเนกัลเป็นจำนวน 121, 949 ตัน แบ่งเป็น
1. เนื้อวัว
2. เนื้อสุกร
3. เนื้อแพะ
4. เนื้อแกะ
โดยผลผลิตเนื้อทั้ง 4 ชนิดรวมจำนวน 79,985 ตัน และ
5. เนื้อไก่ จำนวน 41,964 ตัน
ทั้งนี้ จำนวนดังกล่าวยังไม่เพียงพอสำหรับความต้องการของเซเนกัล
จึงต้องนำเข้าเนื้อสัตว์ (ยกเว้นสัตว์ปีก) เพิ่มอีก 12,163 ตัน
อย่างไรก็ดี สำหรับสัตว์ปีก รัฐบาลเซเนกัลได้ประกาศห้ามนำเข้าเนื้อหรือผลิตภัณฑ์และสัตว์ปีก
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 โดยอ้างเหตุผลการระบาดของไข้หวัดนก แต่ในความเป็นจริงรัฐบาล
น่าจะต้องการปกป้องผู้ผลิตในประเทศมากกว่า
ในปี 2549 ได้มีการผลิตและบริโภคไข่ไก่จำนวน 371 ล้านฟอง
มาตรการส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐ
และสิทธิประโยชน์สำหรับธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม
รัฐบาลเซเนกัลมีนโยบายที่จะส่งเสริมการลงทุนและให้สิทธิประโยชน์สำหรับ
ธุรกิจในภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมโดยจะให้ Incentive ต่าง ๆ ต่อผู้ลงทุน เช่น
1. การยกเว้นการเก็บภาษีต่าง ๆ ในช่วงระยะ 3 – 5 ปีแรกของการลงทุน
2. การให้ผู้ลงทุนสามารถนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาลงทุนในเซเนกัลได้ในจำนวนที่ไม่จำกัด
3. การให้ผู้ลงทุนโอนเงินรายได้ออกนอกประเทศได้
กลไกการค้า
และการตลาดของสินค้าเกษตรในประเทศ
เซเนกัลเป็นประเทศที่มีระบบการค้าเปิด โดยรัฐบาลจะเข้าแทรกแซงเฉพาะที่จำเป็น
และในสินค้าบริโภคที่จำเป็น โดยมีหน่วยงานหลักคือ Markets Regulation Agency (ARM)
ภายใต้กระทรวงพาณิชย์
มีการผลิตและขายสินค้าเกษตรอย่างกระจัดกระจาย โดยมีการขายทั้งในตลาดสด
ร้านค้าขนาดเล็กและกลาง และ supermarket ขนาดกลาง
ทั้งนี้ มีผู้ผลิตสินค้าเกษตรสำเร็จรูปขายจำนวนน้อยและยังต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ
โดยผู้ประกอบการรายใหญ่มักจะเป็นชาวต่างชาติ
****************
RTE DAKAR/JUNE 2009