วันที่นำเข้าข้อมูล 1 ก.ย. 2557
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไทย-เซเนกัล
เซเนกัลเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญอันดับ 4 ของไทยในแอฟริกาตะวันตก (รองจากโกตดิวัวร์) ในขณะที่เซเนกัลมีการนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 6 (รองจากฝรั่งเศส ไนจีเรีย UK เนเธอร์แลนด์ และจีนตามลำดับ) การค้าระหว่างไทยและเซเนกัลในปี 2006 มีมูลค่าการค้ารวม 4,842.25 ล้านบาท ไทยนำเข้าคิดเป็นมูลค่า 113.98 ล้านบาท และส่งออกสินค้าไปเซเนกัลคิดเป็นมูลค่า 4,728.27 ล้านบาท ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าจำนวน 4,614.3 ล้านบาท
สินค้าที่ไทยส่งไปเซเนกัล 10 อันดับแรก ได้แก่ 1. ข้าว 2. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 3.ปูนซีเมนต์ 4. เม็ดพลาสติก 5. ผ้าปักและผ้าลูกไม้ 6. ผลิตภัณฑ์พลาสติก 7. เสื้อผ้าสำเร็จรูป 8.ผ้าแบบสำหรับตัดเสื้อและผ้าที่จัดทำแล้ว 9. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 10. เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ
สินค้านำเข้าของไทยจากเซเนกัล 10 อันดับแรก ได้แก่ 1. สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรุปและกึ่งสำเร็จรูป 2.ด้ายและเส้นใย 3. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ทำพันธุ์ 7. เครื่องเพชร พลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ 8. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 9. เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค 10. ผัก ผลไม้ และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้
ปัญหาและอุปสรรคทางการค้า
โดยทั่วไปเกิดจากการที่ตลาดภายในเซเนกัลมีขนาดเล็กและผู้บริโภคและนักธุรกิจกำลังซื้อต่ำ ธุรกิจส่วนใหญ่ของเซเนกัลยังดำเนินการโดยชาวฝรั่งเศสและเลบานอนที่อาศัยอยู่ในเซเนกัลและนักธุรกิจเหล่านี้มักมีช่องทางการตลาดเป็นของตนเอง และไม่นิยมติดต่อกับนักธุรกิจไทยที่ต้องการส่งออกสินค้าไปเซเนกัลโดยตรง ส่วนพ่อค้าเซเนกัลยังมีการเก็บภาษีนำเข้าหลายประเทศซึ่งเป็นภาระแก่ผู้ส่งออกของไทย ตลอดจนระยะทางขนส่งที่ห่างไกลทำให้ค่าระวางเรือสูง นอกจากนี้ เอกชนไทยมักประสบปัญหาการค้างชำระหนี้ค้าซื้อสินค้าของฝ่ายเซเนกัล
การเป็นสมาชิกของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจแห่งชาติแอฟริกาตะวันตก (ECOWAS)
การที่เซเนกัลเป็นสมาชิก ECOWAS ทำให้สามารถลดหย่อนภาษีการค้าระหว่างสมาชิก ดังนั้น สินค้าบางประเภทของไทยต้องแข่งขันกับสินค้าที่เซเนกัลนำเข้าจากกลุ่มประเทศสมาชิก ECOWAS เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง ไม้ และพลาสติกจากโกตดิวัวร์ สิ่งทอจากไนจีเรีย เป็นต้น รวมทั้งเซเนกัลยังเข้าร่วมเป็นภาคีสนะสัญญาว่าด้วยสหภาพเศรษฐกิจและการเงินแห่งแอฟริกาตะวันตก (Treaty on West African Economic and Monetary Union: WAEMU) ซึ่งมีหลักการสำคัญ คือ การขยายกรอบความร่วมมือด้านการเงินและกำหนดกฏเกณฑ์ทางการค้าให้มีหลักปฏิบัติสอดคล้องกัน และเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวทางการค้าภายในกลุ่มมากขึ้น
ในการนี้ ฝ่ายไทยได้ทาบทามเซเนกัลให้มีการจัดทำอนุสัญญาว่าด้วยยกเว้นภาษีซ้อนระหว่างไทยและเซเนกัล เพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันต่อไป