วันที่นำเข้าข้อมูล 12 ก.ย. 2557
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 21 พ.ย. 2565
จุดแข็งของสินค้าไทย
- ไทยอยู่ในฐานะได้เปรียบดุลการค้า เซเนกัลยังคงพึ่งพาการนำเข้าข้าวและอาหารจากไทย แม้จะมี
ความพยายามพึ่งพาตนเองเนื่องจากมีข้อจำกัดทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ ความไม่อุดมสมบูรณ์
ของดินและน้ำ ความอ่อนด้อยของแรงงานและบุคลากร รวมทั้งการบริหารจัดการภายในประเทศ
นอกจากนั้น สินค้าไทยเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อชีวิตสำหรับชาวเซเนกัล ในขณะที่ สินค้าเซเนกัล
กลับไม่ใช่สินค้ารายการจำเป็นสำหรับไทยมากนัก
- ข้าวไทยเป็นสินค้าติดตลาดเซเนกัล (รวมทั้งในแอฟริกาตะวันตกทั้งหมด) ข้าวไทยได้รับความนิยมมาก
แม้จะมีคู่แข่งสำคัญหลายชาติ รวมทั้งมีแรงด้านจากรัฐบาลเซเนกัลที่รณรงค์ให้ประชาชนบริโภคข้าว
ที่ผลิตในประเทศ เนื่องจากต้องการลดภาระขาดดุลการค้ากับไทยก็ตาม
- คู่แข่งหลักของไทย คือ อินเดีย และเวียดนาม สหรัฐฯ และประเทศในอเมริกาใต้ เนื่องจากเซเนกัลมี
องค์กรจัดซื้อที่ดำเนินการโดยรัฐ การจัดซื้อบางครั้งจึงมีนโยบายการเมืองเข้ามาแทรก แต่เมื่อเปลี่ยน
มาเป็นการค้าเสรี ข้าวจากแหล่งอื่น ๆ ก็ไม่สามารถครองใจผู้บริโภคเซเนกัลได้เหมือนข้าวไทย
และแม้จะนำเอาพันธุ์ข้าวชนิดดีจากไต้หวันมาส่งเสริมเพาะปลูกในประเทศ ผลผลิตที่ได้ก็ไม่ได้รับ
ความนิยามเท่าข้าวไทย
- ปริมาณการนำเข้าข้าวที่ท่าเรือเซเนกัลมีสูงกว่าสถิติของทางการ เนื่องจากเป็นการส่งข้าวผ่านท่าเรือ
เซเนกัลไปยังชายฝั่งประเทศอื่น (Re-export) เช่น มาลี บูร์กินาฟาโซ แกมเบีย กินี อีกปีละ 1-2 แสนตัน
จุดอ่อนของสินค้าไทย
- ไทยและเซเนกัลอยู่ไกลกันมาก การค้าระหว่างไทยกับเซเนกัลส่วนหนึ่งมีลักษณะกระทำผ่านประเทศที่สาม
ไม่ใช่การค้าขายโดยตรง โอกาสที่ไทยจะสูญเสียความสำคัญในเซเนกัลอาจเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ เซเนกัล
ไม่ได้จัดอยู่ในอันดับความสำคัญทางการค้ากับไทยสูงเท่ากับที่จัดลำดับความสำคัญแก่ กลุ่ม EU และ
อเมริกาเหนือ
- ไทยเสียเปรียบเรื่องระยะทางการขนส่งที่ไกลกว่าอินเดีย อเมริกาใต้ และเสียเปรียบคู่แข่งรวมทั้งเวียดนาม
ในด้านราคา ข้าวไทยมีราคาแพงกว่าประเทศอื่น ๆ ผู้บริโภคข้าวไทยเป็นลูกค้าระดับกลางถึงระดับบน
ในขณะที่ความต้องการของลูกค้าระดับล่างมีอยู่มาก แต่ไม่อาจสู้ราคาได้
- ข้าวไทยมีอุปสรรคด้านอุปทาน (supply) ที่ไม่ค่อยสม่ำเสมอ ภาวะสินค้าขาดตลาดเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว
เนื่องจากระบบการขนส่ง หรือปริมาณสำรองข้าวในประเทศไม่พอเพียง
- ข้าวคุณภาพของไทยมีปัญหาเรื่องการถูกปลอมปนในบางครั้ง โดยผู้ค้าปลีกที่ไม่มีความรับผิดชอบ
โอกาสของสินค้าไทย
- การนำเข้าข้าวไทยจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามอัตราการเพิ่มประชากรและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ของเซเนกัล เนื่องจากโดยข้อเท็จจริงพบว่า ประชาชนเซเนกัลหรือในแอฟริกาตะวันตกต่างต้องการ
รับประทานข้าวไทย เพียงแต่ไม่อาจซื้อหาข้าวไทยได้ทุกครัวเรือน เนื่องจากไม่มีกำลังซื้อ
- ปัจจัยที่ทำให้ข้าวไทยขายไม่ได้ คือ
1. กำลังซื้อของชาวแอฟริกาตะวันตก
2. การที่สามารถปลูกข้าวคุณภาพ (ข้าวหอมมะลิ) ได้ในประเทศโดยมีคุณภาพใกล้เคียงกับข้าวไทย
- สำหรับมาตรการห้ามนำเข้าข้าวไทยซึ่งรัฐบาลของบางประเทศเคยนำมาใช้นั้น ที่ผ่านมาพบว่าเป็น
มาตรการที่ทำไม่ได้ตลอดไป และไม่กระทบการส่งออกข้าวไทย เนื่องจากระบบการค้าในแอฟริกา
มีลักษณะเฉพาะตัว สามารถเล็ดลอดผ่านพรมแดนกันได้
- ไทยมีส่วนแบ่งตลาดของสินค้านำเข้าของเซเนกัลในหลายรายการ อาทิ ข้าว ธัญพืช อาหาร
ยารักษาโรค อะไหล่รถยนต์ อุปกรณ์คมนาคม กระดาษ/Paperboard เหล็กเส้น เส้นใยฝ้าย
ซีเมนต์และวัสุดก่อสร้าง ของใช้พลาสติก เสื้อผ้าสำเร็จรูป
- การนำเข้าสินค้าหมวดธัญพืชและอาหารเป็นรายการที่อยู่ในการดูแลของทางการเซเนกัลอย่างใกล้ชิด
เพราะเป็นหมวดสินค้าเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารของชาติ
- เซเนกัลมีระบบวิธีนำเข้าสินค้าประเภทอาหาร 2 วิธี คือ
1. วิธีการค้าปกติ
2. การนำเข้าผ่านโครงการความช่วยเหลือ โดยเฉพาะจากองค์การ World Food Programme
อย่างไรด็กี ไม่ว่าเซเนกัลจะได้สินค้าข้าวมาโดยทางใด ไทยย่อมได้ประโยชน์จากการขายข้าวทั้งสิ้น
ไม่ว่าจะขายตรงให้เซเนกัล หรือขายผ่านองค์การความช่วยเหลือก็ตาม หากกลไกการตลาดยังดำเนิน
อยู่ตามปกติ
- สำหรับสินค้าที่ไม่ใช่ข้าว เช่น เครื่องปรุงอาหาร เครื่องกระป๋อง น้ำผลไม้ เสื้อผ้าลูกไม้ เครื่องจักรกล
รถยนต์ อะไหล่ยนต์ ฯลฯ โอกาสของไทยยังมีหากสามารถรักษาระดับราคาให้แข่งขันกับจีน และประเทศ
ที่มีต้นทุนการผลิดต่ำกว่าได้ ในขณะที่ ไทยต้องให้ความสนใจเรื่องการตลาด มีการลงพื้นที่ และแต่งตั้ง
ตัวแทนการค้าในท้องถิ่น เพื่อให้สัมผัสใกล้ชิดโดยตรงกับลูกค้า เพราะในปัจจุบันคู่แข่งหลายประเทศ
โดยเฉพาะ อินเดีย จีน และเวียดนาม เริ่มใช้มาตรการลงพื้นที่มากขึ้นแล้ว
- โอกาสในการลงทุน ที่สำคัญคือการทำประมงทะเล โดยการเข้าร่วมประมูลสิทธิบัตรทำประมงใน
น่านน้ำเซเนกัล หรือ ร่วมทุนกับชาวเซเนกัลเพื่อผลิตปลากระป๋องป้อนตลาด EU หรือ ตั้งฐาน
กองเรือในเซเนกัล สำหรับส่งปลาทะเลกลับประเทศไทย
ปัญหาของสินค้าไทย
- ไทยไม่มีปัญหาด้านตัวสินค้า แต่มีปัญหาด้านระบบการจัดส่ง และการบริหารจัดการในพื้นที่
กล่าวคือ เซเนกัลอยู่ไกลจากไทย เป็นประเทศกำลังพัฒนา ระบบธนาคารไม่มีประสิทธิภาพ
เท่าเทียมกับไทย ประชาชนชาวเซเนกัลรวมทั้งนักธุรกิจส่วนใหญ่ไม่นิยมใช้บริการธนาคาร
นักธุรกิจสำคัญของเซเนกัลมักเก็บเงินสดไว้กับตัว ไม่นำไปฝากธนาคาร การขอสินเชื่อหรือ
ขอเปิด LC กับธนาคารพาณิชย์เพื่อธุรกิจการค้าระหว่างประเทศจึงทำได้ค่อนข้างยาก
หากไม่มีสายสัมพันธ์กับธนาคารพาณชิย์ดีพอ
- ระบบการค้าโดยมากผ่านตัวแทน ไม่ได้เป็นการค้าขายโดยตรงกับผู้บริโภคท้องถิ่น เนื่องจาก
ไม่สามารถแต่งตั้งตัวแทนทางการค้ารายใหม่ ๆ ที่เปิด LC ซื้อ-ขายกันโดยตรงได้
สินค้าไทยจึงมีจุดอ่อนด้านราคาสูง เมื่องเทียบกับสินค้าจากประเทศอื่น ๆ ผู้ค้าไทยบางราย
พยายามตัดตัวแทน โดยให้พ่อค้าเซเนกัลนำสินค้าไปจำหน่ายก่อนแล้วเรียกเก็บเงินภายหลัง
แต่มักเกิดปัญหาฉ้อโกงอยู่เสมอ
**********