รู้จักประเทศ

รู้จักประเทศ

วันที่นำเข้าข้อมูล 22 ก.ย. 2557

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 6,272 view

บูร์กินาฟาโซ

ที่ตั้งและภูมิศาสตร์

 

ประเทศบูร์กินาฟาโซ หรือชื่อในอดีต อัพเปอร์วอลตา ตั้งอยู่ในแถบตะวันตกของทวีปแอฟริกา ทั้งบูร์กินาฟาโซและมาลี ต่างก็เรียกที่ตั้งประเทศของตนเองว่าเป็นศูนย์กลางของแอฟริกาตะวันตก บูร์กินาฟาโซมีพื้นที่ 274,200 ตารางกิโลเมตร ความคล้ายกันระหว่างสองประเทศ คือ ทั้งบูร์กินาฟาโซและมาลี ต่างไม่มีทางออกทางทะเล

บูร์กินาฟาโซถูกรายล้อมด้วยประเทศต่าง ๆ 6 ประเทศ 
ทิศเหนือและตะวันออกของบูร์กินาฟาโซติดต่อกับประเทศไนเจอร์ 
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อกับประเทศมาลี
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อโกตดิวัวร์
ทิศใต้ติดต่อกับกานาและโตโก 
ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดต่อกับเบนิน

ที่ตั้งของประเทศทำให้บูร์กินาฟาโซมีสภาพภูมิอากาศ 2 ลักษณะ คือ
สภาพภูมิอากาศ Sudano-Sahelian ที่มีสภาพอากาศ 2 ฤดูกาล คือ
ฤดูฝนระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม และ
ฤดูแล้งต่อจากฤดูฝนไปคือเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนมิถุนายนหมุนเวียนอยู่เช่นนี้ (1)

ฤดูกาลในบูร์กินาฟาโซมีลักษณะสลับกันระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ฤดูแล้งมีประมาณ 8 เดือนในภาคเหนือและ 5 – 6 เดือนในภาคใต้

ส่วนฤดูฝนระยะเวลาจาก เมษายน - ตุลาคมในภาคใต้ และ มิถุนายน - กันยายนในภาคเหนือ

บูร์กินาฟาโซจะได้รับฝนตามฤดูที่พัดมาจากตะวันออก แต่ในฤดูแล้งหลังช่วงฤดูหนาวประเทศจะได้รับอิทธิพลจากลมสินค้า
ที่เรียกว่า
harmattan มาจากทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือมีผลทำให้อุณหภูมิในประเทศสูงขึ้นในช่วงเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม (2)

ชาวฝรั่งเศสตั้งชื่อประเทศนี้ว่า Upper volta เพราะแม่น้ำสำคัญ 3 สายของประเทศ คือ The Black volta, The White volta และ The Red volta แม่น้ำเหล่านี้เคยมีชื่อเสียงทำให้ประชาชนที่อยู่อาศัยบริเวณแม่น้ำเหล่านี้ประสบปัญหาติดเชื้อจากแมลงชนิดหนึ่งซึ่งนำโรคตาบอด (onchocerciacis) ถ่ายทอดไปยังผู้ถูกแมลงกัด ปัญหาเชื้อโรคตาบอดจากแมลงดำที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มน้ำเหล่านี้สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนผู้อยู่อาศัยจนมีการจัดตั้งโครงการกำจัดแมลงดำ (blackflies)ภาคใต้การดำเนินงานของสหประชาชาติและโรคติดต่อนี้ถูกกำจัดเกือบไม่หลงเหลืออยู่แล้วในปัจจุบัน (3)

บูร์กินาฟาโซเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทางทะเล และที่ตั้งของประเทศอยู่ในเขตดินแดนที่เป็นทะเลทราย (sub sahara)
รวมทั้งการที่ประเทศไม่มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่สำคัญจึงต้องหันไปพึ่งพารายได้จากการเกษตรกรรม การเลี้ยงสัตว์ เหมืองแร่ การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดย่อม การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งการสนับสนุนการจักรสารหัตถกรรม โดยเฉพาะบูร์กินาฟาโซมีชื่อในการาผลิตตุ๊กตาทองเหลืองและสัมฤธิ์ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อนำรายได้เข้าประเทศ

โดยลัษณะภูมิประเทศ บูร์กินาฟาโซต้องพึ่งพาการเกษตรเป็นรายได้สำคัญของประเทศ แหล่งที่สามารถทำการเพาะปลูกได้อยู่ในเขตด้านใต้และตะวันตกของประเทศซึ่งเป็นที่ราบต่ำและเป็นบริเวณที่ฝนตกชุก และมีน้ำเพื่อการเกษตรกรรม

บูร์กินาฟาโซผลิตข้าวได้เพียง 89,000 ตันในปี ค.ศ. 1998 ซึ่งการผลิตลดลงกว่าปีที่ผ่าน ๆ มา ทำให้บูร์กินาฟาโซต้องนำเข้าข้าวมูลค่ากว่าสามพันล้านฟรังก์เซฟา (ประมาณ 4.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา) บูร์กินาฟาโซซึ่งประกอบด้วยพลเมืองจำนวน 10.8 ล้านคน ปี ค.ศ. 1998 (4) จึงน่าจะเป็นตลาดที่สำคัญในด้านการค้าข้าวของไทยต่อไป

 

ประวัติศาสตร์ การเมือง การปกครอง

ประวัติศาสตร์ในยุคต้นของประเทศบูร์กินาฟาโซเต็มไปด้วยการแตกแยกและสู้รบระหว่างรัฐบาลใหญ่และเล็กที่เป็นอิสระในแต่ละเขตของประเทศเพราะต่างไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจหรืออิทธิพลของรัฐหรือชุมชนใหญ่ การต่อสู้และแก่งแย่งชิงอำนาจและอิทธิพลระหว่างกันนี้มีอยู่จนถึงปลายศตวรรษที่ 19 จนฝรั่งเศสเข้าครอบครองอาณาบริเวณเหล่านี้ในปี ค.ศ. 1896 โดยไม่ยากนัก ประวัติโดยสังเขปแบ่งเป็นยุคดังนี้

 

ยุคก่อนตกเป็นอาณานิคม

ดินแดนที่เป็นที่ตั้งประเทศบูร์กินาฟาโซเมเป็นที่อยู่อาศัยของชนเผ่า Bobo bobi และ Gurunsi แต่มาในศตวรรษที่ 14 ชนเผ่า Mossi และ เผ่า Gurma ได้อพยพเข้ามาในพื้นที่บริเวณที่ตั้งประเทศนี้ และก่อตั้งอาณาจักร Mossi จนเจริญรุ่งเรืองและมีอิทธิพลเหนือกลุ่มอื่น ๆ ในพื้นที่สืบทอดต่อมาหลายศตวรรษจนถึงศตวรรษที่ 19 บริเวณที่เป็นที่ตั้งอาณาจักรมีชื่อว่า Mouhoun basin บริเวณใกล้แม่น้ำ Black Volta จำนวนประชากรของอาณาจักร Mossi ก่อนตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสมีประมาณล้านคนเศษ (5)

ดินแดนที่เป็นอาณาจักร Mossi คือ บริเวณพื้นที่เมืองหลางของบูร์กินาฟาโซในปัจจุบัน กษัตริย์ Oubri Naba จากราชวงศ์ Tengodogo ซึ่งเป็นสายสืบทอดสายหนึ่งของ Mossi ตั้งเมืองหลวงขึ้นที่ Ouaga ในปี ค.ศ. 1441

ในพื้นที่อาณาเขตของบูร์กินาฟาโซสมัยนั้นยังมีอาณาจักรที่มีอำนาจและมีเขตการปกครองแยกออกไป ได้แก่ ราชวงศ์ Yatenga และราชวงศ์ Wogodoga โดยเฉพาะในสายการปกครองของ Yetenga มีประวัติแห่งการต่อสู้แย่งชิงอำนาจกันเอง และในที่สุดกษัตริย์ Naba Bulli (ค.ศ. 1894 – 1899) ได้รับชัยชนะและขึ้นปกครองเหนือรัฐอิสระกลุ่มเล็ก ๆ ในภาคเหนือของประเทศ

ทางภาคตะวันออกเป็นสายการปกครองของอาณาจักร Wogodoga ก็ประสบปัญหาการแย่งชิงความเป็นผู้นำของรัฐอิสระแต่ละกลุ่ม กษัตริย์ที่มีอำนาจของสายนี้ คือ Moro Naba ต้องประสบปัญหากับการปราบปรามสู้รบกับกลุ่มอิสระเล็ก ๆ กว่า 8 รัฐในภาคตะวันออก ซึ่งมีความขัดแย้งระหว่างกันเป็นประจำ ในสายกษัตริย์ Naba Dulugu (ค.ศ. 1796 – 1825) นับถือศาสนาอิสลาม แต่ก็เข้าช่วยกลุ่มราชวงศ์ Fulani ปราบปรามกบฏมุสลิมที่ลุกฮือขึ้นต่อต้านอำนาจการปกครอง

ในกลุ่มทางใต้ ตัวแทนของราชวงศ์ Mossi ยอมรับอำนาจของราชวงศ์ Tenkudugo ซึ่งมีอิทธิพลเหนือพื้นที่ Bisa และ Garango ในภาคใต้แคว้น Garango

ใต้สุดลงไป ประชาชนของ Gurunsi (ประกอบด้วยชาว Ko, Sisala, Lela, Nuna, และ Karena) เป็นกลุ่มใต้อิทธิพลของอาณาจักร Mossi แต่ก็ยังคงความเป็นอินระจนปี ค.ศ. 1872 ทหารรับจ้างของ Zema ภายใต้การนำของ Dagombbba ได้รุกเข้าไปใน Gurunsi และหัวหน้ากลุ่มคือ Bahatu ได้จัดตั้งอิทธิพลในเขตนี้ และแต่มาปี ค.ศ. 1897 กลุ่ม Zema ก็ต้องถูกยึดครองโดยฝรั่งเศส

เขตปกครองศาสนาอิสลาม Liptako emirate ก่อตั้งขึ้นในทิศตะวันตกของประเทศในปี ค.ศ. 1810 หัวหน้า คือ Ibrahim bi Sodya (ค.ศ. 1810 – 1817) ซึ่งได้สร้างความเสียหายแก่กลุ่ม Gulmu และ emirate ใหม่นี้เป็นสายจากตะวันตกที่ขยายจากอาณาจักร Soko ผ่าน Djedgodji เป็นการขยายอิทธิพลครั้งสำคัญต่อเนื่องจาก Sokoto และ Masina

ในปี ค.ศ. 1872 ภายใต้การปกครองของ Salu (ค.ศ. 1817 – 1832) ราชวงศ์ Fulani ถูกผลัดดันให้ถอยไปจาก Udalam และ Logomaten, Tuareg เข้ายึดครองเป็นสายอิทธิพลของ Ioullemedan

ในศตวรรษที่ 18 กลุ่มชนชาติ Kong Dyula ที่ปกครองตนเองขยายอำนาจเข้าไปครอบครองดินแดนตะวันตกของ Burkina Faso ไม่รวม Lobi และ Birifor และไม่ถึงดินแดน Dagara, Famara Wattare บุตรชายของ Seku จัดตั้งอาณาจักร Gwiriko ขึ้นที่ Bobo-Dyulaeso ขณะที่น้องชายคือ Bakari เพียรพยายามเต็มที่ที่จะครอบครองอาณาเชตที่เป็นอิสระของเขต Lobi ในศตวรรษที่ 19 อาณาจักร Kong ถูกทำลาย อาณาจักร Gwiriko สลายตัวเพราะการปฏิวัติจากภายใน มีการจัดตั้งอาณาจักร Dafing Wahabu ขึ้นแทน

เลยตะวันตกออกไป แต่ยังอยู่ในเขตอิทธิพลของอาณาจักร Kong กษัตริย์ Traore จัดตั้งอาณาจักร Kenedugu รอบ ๆ Sikaso ในปี ค.ศ. 1825 แม้ Traore จะมีการจัดระเบียบปกครองที่ดี และตั้งอิทธิพลอยู่ตรงข้ามกับ Gwiriko อาณาจักร Kenedugo ก็เหมือนอาณาจักรเพื่อนบ้านอื่น ๆ ที่เผชิญกับการต่อต้านอย่างรุนแรงจากภายใน เช่น กลุ่ม Tyefo ซึ่งต่อสู้กับ Wattara เช่นกัน

โดยรวมประชากรผู้อยู่อาศัยรอบ ๆ ส่วนบนของที่ราบ Mouhoun ปฏิเสธที่จะรวมอยู่ใต้อิทธิพลของกลุ่มอาณาจักร Dyula

Tyeba Traore ก็ต้องต่อสู้กับ Samory ซึ่งเข้ายึด Sikasso นับเวลา 10 ปีเต็ม (ค.ศ. 1887 – 1888) และน้องของ Tyeba คือ Babemba ต้องพ่อยแพ้สงครามที่ Bama ต่อ Tyefo ต่อมาปี ค.ศ. 1893 – 1896 Babemba ต้องเผชิญกับการรวมตัวของประชาชนที่มีพลังที่ต่อต้านนำโดย Turka

อาณาจักร Kenedugu ต้องล่มสลายเมื่อฝรั่งเศสเข้าครอบครอง Sikaso ในปี ค.ศ. 1898

 

ยุคอาณานิคมและหลังอาณานิคม

ความขัดแย้ง แย่งชิงอิทธิพลในแต่ละพื้นที่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นปลายศตวรรษที่ 19 ของบูร์กินาฟาโซ การแตกสลายของอิทธิพลเป็นผลประโยชน์ต่อฝรั่งเศสซึ่งเข้าครอบครองเขตต่าง ๆ โดยง่าย

การเข้ามามีอิทธิพลของฝรั่งเศสเริ่มจากเขตอาณาจักร Mossi โดยเข้ายึดได้ในปี ค.ศ. 1896 ภายหลังการปราบปรามราชวงศ์ Yatenga ที่รวบรวมกำลังต่อสู้ในปี ค.ศ. 1895

ต่อมากลุ่มอิทธิพลในอาณาเขต Yako ต้องพ่ายแพ้ต่อฝรั่งเศสติดตามด้วย More Naba Wobgo ที่ต่อต้านด้วยตัวเอง กษัตริย์ของ Wogodoga ต้องหลบหนีจากที่ตั้งเมืองหลวง และพยายามรวบรวมลุ่มกำลังชาวพื้นบ้าน (ทางด้านตะวันออก) เพื่อยึดอาณาจักรคืน แต่ในท้ายที่สุดต้องถูกผลักดันจนลี้ภัยเข้าไปอยู่ใน Gambaga ตอนเหนือของ Ghana ที่เป็นต้นกำเนิดของผู้ปกครองกลุ่ม Mossi

ต่อมาในปี ค.ศ. 1897 พื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตอิทธิพลต่าง ๆ ทั้งทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก เช่น กลุ่ม Birifor และ Lobi ก็ถูกยึดครอบโดยฝรั่งเศส

ในทางด้านใต้อิทธิพลในภูมิภาค Guransi และ Tussian ตกอยู่ใต้อำนาจฝรั่งเศสตามด้วยภูมิภาค Gulmu เมือง Yatenga ถูกยึดครองทั้งหมด

เหตุการณ์สำคัญรวมถึงการต่อต้านที่ Gulmance นำโดย Jakpanbado Yoabli (กษัตริย์ของกลุ่ม Diapanguo) และการต่อสู้อย่างรุนแรงของประชาชน Lobi และ Birifor บางครั้งก็ยังมีการลุกขึ้นต่อต้านฝรั่งเศสหลังจากการถูกยึดครอง เช่น กรณีเมือง Bwaba เมื่อมีการเกณฑ์ทหารไปรบสงครามโลกครั้งที่ 1

การแข็งข้อต่อต้านเริ่มในเมือง Marka และขยายไปเมือง Sana และ Gurunsi ฝรั่งเศสจำต้องระดมกำลังสมทบเพื่อปราบปรามการแข็งข้อดังกล่าว

 

ยุคอาณานิคม

ฝรั่งเศสเข้ายึดครองดินแดนต่าง ๆ ทันทีหลังจากการปรามปรามดินแดนเหล่านั้น การครอบครองนี้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางสังคมของกลุ่มชนเผ่าในพื้นที่ รวมทั้งพื้นที่ประเทศใกล้เคียง ในด้านการบริหาร พื้นที่ที่ตั้ง Burkina Faso กลายเป็นพื้นที่ปกครองของทหารจากปี ค.ศ. 1904 – 1919 และอาณานิคม Upper Volta จากปี ค.ศ. 1919 – 1932

ในเดือนกันยายน ปี ค.ศ. 1932 อาณานิคม Upper Volta ถูกแบ่งแยกด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจและการปกครอง อาณานิคมแยกตัวเป็นโกตดิวัวร์ French Sudan (หรือ Mali) และ Niger

ในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 1947 อาณานิคม Upper Volta มีการเปลี่ยนระบบการปกครองโดยเข้าเป็นสมาชิกภายใต้สหภาพฝรั่งเศสซึ่งตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1946 ทั้งนี้ ด้วยแรงกดดันจากประชาชนโดยการนำของ Moro Naba Kom II และคงสมาชิกภาพอยู่จนได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1960

การเข้าเป็นสมาชิกสหภาพฝรั่งเศสทำให้มีการพัฒนารูปแบการเมืองโดยการมีตัวแทนเข้าไปนั่งในรัฐสภาฝรั่งเศส และสมาชิกสภาที่ปรึกษาอาวุโสเข้าร่วมประชุม French Councilof State มีการจัดตั้งสภาดินแดนในอาณาเขตขึ้นภายใน และภายใต้เขตกฎหมาย “Loi Cadre” (1956 – 1958) มีการจัดตั้งพรรคการเมือง 4 พรรคขึ้นใน Upper Volta ได้แก่
พรรค Rassemblement Democratique Africain (RDA),
พรรค Parti Progressiste Volgaigue (PPV),
พรรค Nazi Boni’s Mouvement Populaire Africain (MPA) และ
พรรค Parti Social Pour l’Emancipation des Masses Africaines (PSEMA)

ทั้ง 4 พรรคแม้จะมีความขัดแย้งกันก็ร่วมกันดำเนินการให้ประเทศไปสู่ระบบสาธารณรัฐเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1958 ต่อมามีการรวมตัวของพรรคการเมืองทำให้เกิดเป็นพรรค 2 พรรคขึ้นมา คือ พรรค RDA และพรรค PRA (Parti du regroupement Africain) และปี ค.ศ. 1959 Morice Yameogo ผู้นำพรรค RDA ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี และได้นำประเทศเข้าร่วมในสหพันธรัฐมาลี แต่ต่อมาได้ถอนตัวออกคงไว้เพียงรูปการรวมตัวด้านการปรึกษาหารือ Upper Volta ประกาศตัวเป็นเอกราชเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1960 และเป็นประเทศที่มีความมั่งคงทางการเมืองประเทศหนึ่ง แต่มีการปฏิวัติหลายครั้งจนนำไปสู่ระบบประชาธิปไตย

ในระยะแรก ประธานาธิบดีออกกฎหมายให้มีระบบพรรคการเมืองพรรคเดียวระหว่าง ปี ค.ศ. 1963 – 1965 แต่ด้วยกระแสต่อต้านของประชาชน ประธานาธิบดี Yameogo ต้องหลุดพ้นจากอำนาจโดยการปฏิวัติทางทหาร

บูร์กินาฟาโซอยู่ภายใต้การปกครองโดยระบบทหารเป็นครั้งแรกนำโดย พ.ท. Sangoule Lamizana ในเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1966 มีการยุบสภาแห่งชาติและระงับการใช้รัฐธรรมนูญ ต่อมามีการกลับมาให้รัฐธรรมนูญเป็นการกลับมาสู่ระบบสาธารณรัฐที่ 2 ในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 1970 สลับโดยการปฏิวัติทางทหารอีก 4 ปีจากเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1974 – 1977 เดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1977 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญสาธารณรัฐที่ 3 และในปี ค.ศ. 1978 มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาและประธานาธิบดี พล.อ. Lamizana ชนะการเลือกตั้งเหนือคู่แข่งอีก 3 คนด้วยคำแนะนำเพียงเล็กน้อย (6)

วันที่ 25 พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1980 พ.อ. Saya Zerbo ทำการปฏิวัติโดยปราศจากการนองเลือก ควบคุมประธานาธิบดี Lamizana ได้ภายในบ้านพัก และขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีและจัดตั้งคณะกรรมการทหารเพื่อการปฏิรูปและพัฒนาประเทศแต่ในระยะเวลาอันสั้นเพียงปีเดียวก็ถูกปฏิวัติโดย พ.อ. Jean-Baptiste Ouedraogo เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1982 ติดตามมาในชั่วระยะเวลาเพียง 1 ปี ร.อ. Thomas Sankara ผู้ถูกถอดถอนจากตำแหน่งนายะรัฐมนตรีก็ทำการปฏิวัติโค่นล้มประธานาธิบดี Ouedraogo และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น Burkina Faso (ความหมายประชาชนที่มีความเที่ยงตรง “upright men”) เพื่อล้างภาพพจน์การตกเป็นอาณานิคมในอดีต รวมทั้งการจัดตั้งสภาปฏิวัติแห่งชาติ Conseil National de la Revolution (CNR) ซึ่งต่อมาสภาพนี้สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนจากการใช้อำนาจเกินขอบเขต Thomas Sankara ถูกลอบสังหารวันที่ 15 ตุลาคม ปี ค.ศ. 1987 ร.อ. Blaise Compaore เข้าควบคุมอำนาจและประกาศดำเนินการปกครองระบบประชาธิปไตยโดยนำรัฐธรรมนูญกลับมาใช้เป็นการเข้าสู่ระบบสาธารณรัฐที่ 4 เปิดโอกาสให้มีการจัดตั้งระบบพรรคการเมืองหลายพรรค และในการเลือกตั้งทั่วไปประธานาธิบดี Compaore ได้รับการให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในเดือน ธันวาคม ปี ค.ศ. 1991

ในปี ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดี Compaore ประกาศนโยบายปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (the Structural Adjustment Programme – SAP) เพื่อแก้ปัญหาวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ โดยเริ่มดำเนินโครงการระยะแรกสำเร็จในปี ค.ศ. 1991 จัดให้ทุกสาขาวิชาชีพมีส่วนร่วม ต่อมาได้มีการดำเนินโครงการ SAP อีก 2 ครั้ง (ค.ศ. 1994 – 1996 และ 1997 – 1999) เป็นการสร้างพื้นฐานการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยการกระตุ้นการเพิ่มรายได้และการมีงานทำ และภายหลังการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี ค.ศ. 1997 ทำให้ประธานาธิบดีอยู่ในตำแหน่งได้ 7 ปี และสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งติดต่อได้ไม่จำกัดวาระ และจากการเลือกตั้งประธานธิบดีและเข้าดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่สอง

 

ประชากร

การสำรวจสำมะโนประชากร ครั้งที่ 3 ในปี ค.ศ. 1996 พบว่าประชากรของบูร์กินาฟาโซมีจำนวน 10,469,747 คน อาศัยอยู่ใน 8,228 หมู่บ้าน การสำรวจประชากรที่ผ่านในปี ค.ศ. 1975 และปี ค.ศ. 1985 พบว่าอัตราการเพิ่มประชากรจากปี ค.ศ. 1985 ถึง ปี ค.ศ. 1991 มีอัตราการเพิ่มประชากรร้อยละ 2.64 ซึ่งหากการเพิ่มของจำนวนประชากรยังมีอัตราคงที่จะทำให้มีประชากรเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในระยะ 26 ปี แต่อัตราการเพิ่มได้ลดลงเล็กน้อย (7)

อัตราการเสียชีวิตของทารกอยู่ในอัตราสูงด้วยเช่นกัน แต่ก็มีแนวโน้มลดลงระหว่างปี ค.ศ. 1960 – 1961 ทารกเสียชีวิตในอัตรา 182 ต่อ 1,000 และเหลือ 134 ในปี ค.ศ. 1985 ลดลงเหลือ 114.6 ในปี ค.ศ. 1991 ซึ่งหมายถึงเด็ก 1 คนใน 9 คนเสียชีวิตก่อนอายุครอบ 1 ปี สาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของทารกมากจากโรคติดต่อ เช่น มาเลเรีย ท้องร่วง การหารใจผิดปกติ โรคหัด และโรคขาดสารอาหาร อัตราการเสียชีวิตของมารดามีอัตราสูงที่ 556 คนต่อการคลอด 100,000 ครั้ง

ความยืนยาวของชีวิตเพิ่มจาก 48.5 ปี ในปี ค.ศ. 1985 เป็น 52.2 ปี ในปี ค.ศ. 1991 (ไม่แยกเพศ) ในเขตเมือง ความยืนยาวของชีวิตอยู่ที่ 50.6 ปี

โครงสร้างของประชากรพบว่าประชากรหญิบมีจำนวนสูงกว่าประชากรชายในปี ค.ศ. 1991 ประชากรร้อยละ 48.9 เป็นชายและร้อยละ 51.1 เป็นหญิง โครงสร้างของประชากรยังแสดงอัตราประชากรในวัยต่ำกว่า 15 ปีมีสูงถึงร้อยละ 49 เทียบกับร้อยละ 48.3 ในปี ค.ศ. 1985 เฉลี่ยอายุโดยรวมของประชากรทั้งประเทศอยู่ที่ 21.4 ปี และ 22.2 ปี ตามลำดับ สาเหตุของการที่มีประชากรในวัยเยาว์มีอัตราสูงเนื่องจากอัตราการอยู่รอดของทารกมีสูงขั้น

ความหนาแน่นของประชากรในปี ค.ศ. 1996 บูร์กินาฟาโซซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 274,200 ตารางกิโลเมตร มีความหนาแน่นประชากร 38 คนต่อตารางกิโลเมตรเพิ่มขึ้นจากปี ค.ศ. 1991 ที่มีอัตรา 33.5 คน ดินแดนที่มีประชากรหนาแน่นอยู่ที่ที่รอบภาคกลางที่ประชากรร้อยละ 43 ของประเทศที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว โดยเฉพาะประชรกรในตัวเมืองหลวง Ouagadougou มีจำนวนประชากร 1 ล้านคนและที่เมืองใหญ่อันดับสองทางตะวันตกคือ Bobo Dioulasso มีจำนวน 580,000 คน (8)

อย่างไรก็ตาม ปัญหาการเคลื่อนย้ายประชรกรเพื่อไปประกอบอาชีพในประเทศข้างเคียงมีอัตราสูงด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะระหว่างประเทศสมาชิก ECOWAS ด้วยกัน ในประเทศโกตดิวัวร์แห่งเดียวมีประชากรของบูร์กินาฟาโซกว่า 5000,000 คนเข้าไปประกอบอาชีพ และส่งเงินกลับเข้าประเทศ ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจของประเทศด้วยเช่นกัน (9)

 

เอกสารอ้างอิง 

(1)      Le Burkina Faso, Une Terre D’accueil, Office Nationa de Tourisme Burkinabe, Ouagadougou.

(2)      Jeune Afrique Atlases, Paris

(3)      Crisis in Africa, Arthur Gavshon, Pelican books, The Chaucer Press, G.B.

(4)      Institut National de la Statustuque et de la Demographie de Burkina Faso.

(5)      Le developpement de la Zone Franc CFA, UEMOA/CEMAC, Octobre 1998

(6)      Time Almanac 1999, 31 St. Jaun Avenue, Bostan, MA.

(7)      Ibid (2)

(8)      Ibid (1)

(9)      Burkina Faso for Business, Embassy of Burkina Faso New Delhi.

 

ภาพรวมเศรษฐกิจ