ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับไทย

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับไทย

วันที่นำเข้าข้อมูล 13 พ.ย. 2557

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 875 view

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไทย-เซเนกัล 
เซเนกัลเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญอันดับ 4 ของไทยในแอฟริกาตะวันตก (รองจากโกตดิวัวร์)
ในขณะที่เซเนกัลมีการนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 6 (รองจากฝรั่งเศส ไนจีเรีย UK เนเธอร์แลนด์ และจีนตามลำดับ)
การค้าระหว่างไทยและเซเนกัลในปี 2006 มีมูลค่าการค้ารวม 4,842.25 ล้านบาท
ไทยนำเข้าคิดเป็นมูลค่า 113.98 ล้านบาท และส่งออกสินค้าไปเซเนกัลคิดเป็นมูลค่า 4,728.27 ล้านบาท
ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าจำนวน 4,614.3 ล้านบาท

สินค้าที่ไทยส่งไปเซเนกัล 10 อันดับแรก ได้แก่
1. ข้าว 
2. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 
3. ปูนซีเมนต์ 
4. เม็ดพลาสติก 
5. ผ้าปักและผ้าลูกไม้     
6. ผลิตภัณฑ์พลาสติก 
7. เสื้อผ้าสำเร็จรูป         
8. ผ้าแบบสำหรับตัดเสื้อและผ้าที่จัดทำแล้ว 
9. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 
10. เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ

สินค้านำเข้าของไทยจากเซเนกัล 10 อันดับแรก ได้แก่ 
1. สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรุปและกึ่งสำเร็จรูป 
2.ด้ายและเส้นใย  
3. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ทำพันธุ์ 
7. เครื่องเพชร พลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ 
8. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 
9. เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค 
10. ผัก ผลไม้ และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้

 

- เซเนกัลเป็นตลาดข้าว 100 % และข้าวหัก 25 % อันดับต้น ๆ ของไทยในแอฟริกา
  มีสถิตินำเข้าสูงเป็น 1 ใน 3 อันดับแรกคู่กับไนจีเรียและแอฟริกาใต้ และเป็นตลาด
  ที่ยังจะขยายตัวได้อีกมากเพราะเป็นทางผ่านของสินค้าไทยไปสู่ประเทศไม่มีทางออกทะเล
  (Landlocked) ในใจกลางทวีป

 

การค้า

- ไทยกับเซเนกัลมีความใกล้ชิดทางด้านการค้า โดยเป็นทั้งคู่แข่งและพันธมิตร
  เซเนกัลจัดลำดับความสำคัญของตลาดการค้าไว้ 3 ภูมิภาค คือ
  1. สหภาพยุโรป
  2. ทวีปอเมริกาเหนือ
  3. ทวีปแอฟริกา

  จึงไม่มีลักษณะเผชิญหน้ากับไทยโดยตรงในตลาดเอเชีย ในขณะที่มีส่วนแบ่งทางอ้อม
  ในบางตลาด อาทิ การมีส่วนแบ่งในสินค้าประเภทปลากระป๋อง เสื้อผ้าสิ่งทอ และ
  อาหารเกษตร
สำหรับตลาด EU ซึ่งไทยสามารถสร้างพันธมิตรกับเซเนกัลเพื่อร่วมกัน 
  ผลิตและจำหน่ายสินค้าไปสู่ตลาดที่เป็นพื้นที่เป้าหมายของแต่ละฝ่ายต่อไป

 

การบริการ

- เซเนกัลแม้จะด้อยประสิทธิภาพกว่าไทยในด้านบริการ แต่ถือว่ามีความเป็นเลิศ
  สำหรับภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก เพราะมีข้อได้เปรียบที่ไม่มีเหตุวุ่นวายทางการเมือง
  เหมือนประเทศอื่น จึงทำให้เซเนกัลโดดเด่น เป็นที่วางใจของผู้ใช้บริการและ
  นักลงทุนมากกว่าประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน  

 

ข้อตกลงทางการค้าระหว่างไทย - เซเนกัล
1.  
ความตกลงทางการค้า
     ไทย - เซเนกัลลงนามความตกลงทางการค้าระหว่างกันเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2524 
     และได้มีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารระหว่างกันในวันที่ 25 สิงหาคม 2526

    อย่างไรก็ดี การที่เซเนกัลเป็นสมาชิก WAEMU ทำให้ข้อตกลงทางการค้าของประเทศ
    สมาชิกที่ทำไว้กับประเทศนอกกลุ่ม ถือว่าสิ้นสุดลงเมื่อปฏิญญาของกลุ่มได้รับสัตยาบัน 
    และหากจะทำความตกลงฉบับใหม่ต้องขอความเห็นชอบจากสมาชิกก่อน ไทย 
       

2.  อนุสัญญาว่าด้วยการยกเว้นภาษีซ้อน
     ไทย - เซเนกัล อยู่ระหว่างการเจรจาให้มีการจัดทำอนุสัญญาว่าด้วยยกเว้นภาษีซ้อนระหว่างกัน
     เพื่อการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันต่อไป

 

 

********************