วันที่นำเข้าข้อมูล 25 พ.ค. 2558
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565
ที่ตั้งและภูมิศาสตร์
ประเทศเซเนกัลตั้งอยู่ปลายสุด้านตะวันตกของทวีปแอฟริกา
มีพื้นที่ประเทศรวม 196,712 ตารางกิโลเมตร มีชายฝั่งทะเลยาว 700 กิโลเมตร
ทิศเหนือติดกับประเทศมอริเตเนีย
ทิศใต้ติดกับประเทศกินี และกินีบิเซา
ทิศตะวันออกติดกับประเทศมาลี
ทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก
พื้นที่ส่วนกลางและใต้ของประเทศตั้งขนาบกับประเทศแกมเบียทั้งประเทศ
โดยชายฝั่งตะวันตกของแกมเบียมีชายฝั่งติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติคด้วย
เซเนกัลตั้งอยู่ใต้เขตทะเลทรายซาฮารา จึงเผชิญกับความแห้งแล้ง ลมพายุทะเลทราย (Hamattan) จากทิศเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือนำความร้อนและความแห้งแล้งพร้อมด้วยพายุทรายและฝุ่นจากทะเลทราย ส่วนใหญ่จะเกิดในช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์และกรกฎาคม และมักจะเกิดทางตอนเหนือและส่วนกลางของประเทศ เช่น ที่เมือง Tambacounda ส่วนในด้านทิศเหนือบริเวณ Dagana มีลมพายุทะเลทรายเกือบตลอดปี
พื้นที่ด้านตะวันตกมีชายฝั่งติดกับมหาสมุทรแอตแลนติคทำให้อุณหภูมิบริเวณพื้นที่ชายฝั่งอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะที่กรุงดาการ์ที่มีทะเลล้อมรอบทำให้มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 23-30 องศาเซลเซียสเกือบตลอดปี บริเวณชายฝั่งจะมีลมทะเลพัดจากตะวันตกเฉียงเหนือในช่วงเดือนธันวาคม - มิถุนายน นำอากาศบริสุทธิ์และความชื้นมาสู่พื้นที่บริเวณตะวันตกของประเทศ พื้นที่ห่างจากชายฝั่งทะเลเข้าไปภายในประเทศอุณหภูมิจะสูงขึ้น
ในฤดูฝนมีลมมรสุมจากทิศตะวันออกเฉียงใต้นำความชื้นและฝนมาสู่พื้นที่ประเทศ มีระยะเวลา 3 เดือนในภาคเหนือ (กรกฎาคม - กันยายน) และ 6 เดือนในภาคใต้ (พฤษภาคม - ตุลาคม)
เซเนกัลมีแม่น้ำสายสำคัญ 3 สาย คือ
1. แม่น้ำเซเนกัล มีความยาว 1,750 กิโลเมตร ไหลมาจากทางใต้จากแหล่งกำเนิดแม่น้ำในประเทศกินี มาบรรจบที่ฝั่งตะวันออก
ที่ Bagel เป็นพื้นที่กว้างใหญ่ประมาณ สอง-สามร้อยเมตร และอาจแผ่ขยายกว้างถึง 25 กิโลเมตร บริเวณดังกล่าวเป็นแหล่ง
เพาะปลูกที่สำคัญของประเทศในฤดูฝน แม่น้ำเซเนกัลไหลผ่านขึ้นไปถึงตอนเหนือของประเทศที่เมือง Sain-Louis และไป
บรรจบกับทะเลสาป (Lac de Guiers) ทางตอนเหนือของประเทศ
2. แม่น้ำแกมเบีย มีความยาว 750 กิโลเมตร
3. แม่น้ำคาซามังส์ มีความยาว 300 กิโลเมตร อยู่บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ
เซเนกัลมีปัญหาการใช้น้ำร่วมกับประเทศมอริเตเนียเพราะแม่น้ำเซเนกัลซึ่งถือเป็นเส้นเขตแดนของประเทศเป็นเขตแดนติดต่อกับประเทศมอริเตเนียตลอดเส้นเขตแดนทางตอนเหนือ และเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของเซเนกัลด้วย การใช้น้ำจากแม่น้ำโดยตรงเพื่อการเพราะปลูกในพื้นที่บริเวณดังกล่าว ในพื้นที่ถัดลงมาในประเทศ เช่น Fleuve เป็นดินแดนที่แห้งแล้งมีเพียงด้านฝั่งตะวันออกที่แม่น้ำไหนผ่าน
เมืองที่สำคัญ
กรุงดาการ์ (Dakar) เป็นเมืองหลวงตั้งอยู่ติดทะเลทางตะวันตกปลายสุดของทวีปแอฟริกาบนแหลมเคปเวิร์ด ในยุคอาณานิคมชาวตะวันตกใช้เป็นที่ตั้งถิ่นฐานเพื่อเป็นฐานขยายอำนาจไปยังพื้นที่ตอนในของทวีป ดาการ์ได้พัฒนาและขยายตัวมาเป็นลำดับนับตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ดาการ์กลายเป็นเมืองท่าและการค้าที่สำคัญ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการปกครองของเซเนกัล
ทิแอส (Thies) ตั้งอยู่ห่างจากกรุงดาการ์ประมาณ 70 กิโลเมตร เป็นเมืองศูนย์กลางทางอุตสาหกรรมหลายประเภท โดยเฉพาะการทำเหมืองแร่ฟอสเฟต นอกจากนี้ ยังมีอุตสาหกรรมทอผ้าและเป็นชุมทางรถไฟอีกด้วย
เกาลัค (Kaolack) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่กลางแหล่งปลูกถั่วลิสงที่สำคัญของประเทศ มีตลาดการค้าที่ใหญ่และคึกคัก นอกจากนี้
ยังมีการผลิตเกลือด้วย
เซนต์ หลุยส์ (Saint-Louis) เป็นเมืองหลวงเก่าตั้งแต่สมัยฝรั่งเศสเข้ามาปกครอง ตั้งอยู่บนเกาะปากแม่น้ำเซเนกัล มีสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่สวยงาม จัดเป็นเมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของเซเนกัล โดยเฉพาะเป็นแหล่งรวมนกทีสวยงามหายากของโลก
โคลดา (Kolda) เป็นเมืองสำคัญทางภาคใต้ มีฝนตกชุก อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งปลูกข้าว ข้าวฟ่าง และฝ้ายที่สำคัญของประเทศ
ดิออเบล (Diourbel) ตั้งเมืองตั้งอยู่ในภาคกลางด้านตะวันตกของเซเนกัล เป็นแหล่งผลิตถั่วลิสงและน้ำมันถั่วลิสง นอกจากนี้
มีโรงงานอุตสาหกรรมเคมี
เคดูกู (Kedougou) ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ เป็นแหล่งแร่ธาตุหลายชนิด เช่น เหล็ก พื้นที่ในส่วนที่ติดกับชายแดนประเทศมาลีมีแร่ที่สำคัญ คือ เพชร ซี่งมีการสำรวจอย่างกว้างขวางถึงความเป็นไปได้ในการทำเหมืองเพชร
ซิกินเชอร์ (Ziguinchor) ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคาซามังส์ ทางตอนใต้สุดของประเทศ เป็นศูนย์กลางของการเกษตรกรรมเนื่องจาก
เป็นพื้นที่ที่มีฝนตกชุกที่สุดของเซเนกัล จึงเป็นแหล่งผลิตข้าว ผัก ผลไม้ และฝ้าย รวมทั้งการเลี้ยงปศุสัตว์ด้วย
**********************