ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับไทย

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับไทย

วันที่นำเข้าข้อมูล 25 พ.ค. 2558

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 2,587 view

การค้า

 

บูร์กินาฟาโซประสบปัญหาการขาดดุลการค้าเช่นเดียวกับประเทศในแอฟริกาส่วนใหญ่ที่มีการนำเข้ามากกว่าการส่งออก การขาดดุลการค้าของประเทศในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ปี ค.ศ. 1994 – 1998 มีการขาดดุลติดต่อกันมาโดยตลอดในปี ค.ศ. 1998 มีการขาดดุลประมาณ 152.6 พันล้านฟรังก์เซฟา (152.6 milliards de FCFA) ลดลาจากปี ค.ศ. 1996 และ ปี ค.ศ. 1997 เล็กน้อย ผลจากการลดค่าเงินในปี ค.ศ. 1994 ทำให้ภาระการส่งออกของประเทศดีขึ้นเล็กน้อย

รัฐบาลบูร์กินาฟาโซได้ขยายการค้าให้เป็นระบบเสรีมากขึ้น โดยการผ่อนปรนกฎระเบียบในด้านการนำเข้าและส่งออก

สินค้าที่จัดอยู่ในประเภทอ่อนไหว และอยู่ภายใต้การควบคุมราคามี 5 รายการ (1) คือ 

1. สิ่งผลิตประเภทยาและเวชภัณฑ์
2. อุปกรณ์เครื่องเขียนและการเรียน
3. บริการสาธารณะ (น้ำประปา ไฟฟ้า และโทรศัพท์)
4. ยาสูบและน้ำมันเชื้อเพลิง และ
3. ผลิตภัณฑ์น้ำมัน 

สินค้าสำคัญเพื่อการนำเข้าประกอบด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์น้ำมัน เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรและอุปกรณ์ ชิ้นส่วนและอะไหล่ยานพาหนะ รถยนต์ ปลา ผลิตภัณฑ์อาหาร วัสดุก่อสร้าง ปุ๋ย เหล็กแผ่นและแร่เหล็ก

สินค้าเพื่อการส่งออกประกอบด้วยพืชผลทางการเกษตร เช่น ฝ้าย เมล็ดงา ถั่วลิสง การิเต้ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว มะม่วง มะเขือเทศ

สินค้าปศุสัตว์ประเภท สัตว์เลี้ยง วัว แพะ แกะ ไก่ และหนังสัตว์ แร่ ทองคำ

สินค้าอุตสาหกรรม ยางรถยนต์และท่อยาง ผลิตภัณฑ์จากฝ้าย เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ กระป๋อง

เครื่องหัตถกรรมมีประเภทสินค้าเครื่องหนัง ไม้แกะสลัก เครื่องทองเหลือเป็นต้น

 

การค้ากับกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศไทย

บูร์กินาฟาโซมีการค้าติดต่อกับกลุ่มประเทศในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น มูลค่าการค้าร้อยยะ 26.9 และกับสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ ด้วย (2) ช่น 


อินโดนีเซีย ร้อยละ 10.7,
ปากีสถาน ร้อยละ 10,
สิงคโปร์ ร้อยละ 9.1,
เวียดนามเหนือ ร้อยละ 8.3,
ไต้หวัน ร้อยละ 7.8,
อินเดีย ร้อยละ 5.1,
ไทย ร้อยละ 3.3,
เวียดนามใต้ ร้อยละ 2.8,
ตุรกี ร้อยละ 2.4,
สาธารณรัฐเกาหลี ร้อยละ 2,
มาเลเซีย ร้อยละ 1.8,
ฮ่องกง ร้อยละ 1.3 และ
ฟิลิปปินส์ ร้อยละ 0.9 

 

การค้ากับประเทศไทย

การค้าระหว่างประเทศบูร์กินาฟาโซกับประเทศไทยส่วนใหญ่แล้วบูร์กินาฟาโซจะได้เปรียบดุลการค้า
ยกเว้นในปี ค.ศ. 1998 การส่งออกได้ชะลอตัวลงขณะที่การนำเข้าสินค้าจากประเทศได้ขยายตัวต่อเนื่องสูงขึ้น


ตารางแสดงการส่งออกสินค้าไปประเทศไทย

 

1994

1995

1996

1997

1998

การส่งออกไปประเทศไทย

2,386,222,491

3,127,959,655

1,440,502,135

1,309,152,677

247,500

หน่วย ฟรังก์เซฟา

Source : Institut International d’ Administration Publicque (IIAP)

 

รายการสินค้าที่มีแหล่งผลิตจากประเทศไทยซึ่งบูร์กินาฟาโซนำเข้าปี 1997 – 1998

รายการสินค้าที่นำเข้า

1997

1998

 ข้าว

670,396,850

3,678,358,130

 ผลิตภัณฑ์อาหาร

489,500

162,114

 ซีเมนต์

-

868,882,963

 ผลิตภัณฑ์พลาสติกและยาง

-

1,422,920

 เครื่องใช้ไฟฟ้า

140,685

71,437,085

 ยานพาหนะ – ชิ้นส่วนอะไหล่

4,809,566

103,731,069

 เครื่องเรือน – ไม้

-

2,209,200

 ของเล่น

383,376

908,413

 ของใช้ส่วนตัวจำพวกแปรงสีฟัน ไฟแช็ค

1,639,497

-

 เครื่องเขียน

847,596

-

 สิ่งทอ – เครื่องนุ่งห่ม – รองเท้า

32,888,950

106,046,295

 เครื่องตกแต่งที่พักอาศัย ผลิตภัณฑ์เหล็ก เช่น ลูกบิดประดู

20,310,991

32,048,137

 ชิ้นส่วนอะไหล่ เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์

203,552,991

287,183,565

 เครื่องหนัง

303,584

31,314

 มูลค่านำเข้ารวม (ฟรังก์เซฟา)

935,763,586

5,152,457,232

หมายเหตุ: ตัวเลขจากการสรุปรวมรายการสินค้าในหมวดหมู่หรือประเภทเดียวกันของ
                Chambre de Commerce, d’Industrie et d’Artisanat du Burkina Faso


ผลจากการไปเยือนประเทศไทยของนักธุรกิจบูร์กินาฟาโซระหว่างวันที่ 18 – 25 เมษายน ปี พ.ศ. 2543 จำนวน 20 คนตามคำเชิญของ ฯพณฯ สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นับว่าการเยือนประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ทำให้มีการสั่งสินค้าจากประเทศไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์อาหาร สิ่งทอ วัสดุก่อสร้าง เครื่องใช้ไฟฟ้า อะไหล่รถยนต์ และเป็นการเปิดตลาดการส่งออกรถตุ๊กตุ๊กของไทยเข้าตลาดแอฟริกาตะวันตกเป็นครั้งแรก ซึ่งจะมีผลให้การส่งออกของไทยขยายตัวขึ้นต่อไปด้วยในอนาคต

 

ธุรกิจการค้าข้าวในบูร์กินาฟาโซ

บูร์กินาฟาโซต้องนำเข้าข้าวเพื่อการบริโภคเพิ่มเติมจากอาหารหลักพื้นบ้าน คือ ข้าวฟ่าง และข้าวโพดเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ในแอฟริกาตะวันตก อาทิ แกมเบียและมาลี แต่บูร์กินาฟาโซไม่สามารถผลิตข้าได้มากเท่าเทียมกับมาลีอีกทั้งประชาชนโดยรวมของประเทศนิยมบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก บูร์กินาฟาโซจึงจำเป็นจ้องนำเข้าข้าวเพื่อการบริโภคเป็นประจำจากไทย ไต้หวัน เวียดนาม ปากีสถาน และอินเดีย

จากการสัมภาษณ์นาย Quedraogo Salif Dere ประธานบริษัทนำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดของบูร์กินาฟาโซ พบว่านาย Dalif มีโกดังเก็บข้าวไทยประมาณกว่าหมื่นตันในพื้นที่กรุงวากาดูกูและอีกแห่งหนึ่งในโกดังเมือง Bobo Dioulasso ทางทิศใต้ของเมืองหลวงอยู่ใกล้กับ Cote d’Ivoire จากข้อมูลทราบว่าบูร์กินาฟาโซสั่งเข้าข้าวมาเพื่อจำหน่ายภายในประเทศประมาณ 9 หมื่นตันต่อปีเป็นข้าวไทยประมาณ 17,000 ตัน ที่เหลือส่วนใหญ่เป็นข้าวที่นำเข้ามาจากไต้หวัน เวียดนาม ปากีสถาน และอินเดีย พ่อค้าข้าวรายใหญ่นี้แจ้งว่าปัจจุบันนี้การนำเข้ามาจำหน่ายในบูร์กินาฟาโซต้องผ่านพ่อค้าคนกลางชาวตะวันตกทำให้ข้าวมีราคาสูงในบูร์กินาฟาโซ ข้าวหอมมะลิไทยที่จำหน่ายอยู่ในบูร์กินาฟาโซมีราคาประมาณ 20,000 ฟรังก์เซฟาต่อ 50 กิโลกรัม หรือประมาณ 1,200 บาท ส่วนข้าวที่นำเข้าจากไต้หวัน เวียดนาม ปากีสถาน และอินเดียมีราคาเฉลี่ยขายประมาณ 14,000 ฟรังก์เซฟาต่อ 50 กิโลกรัม หรือประมาณ 850 บาท

การนำเข้าข้าวต่อจากพ่อค้าคนกลางชาวฝรั่งเศสและจากเนเธอร์แลนด์มายังบูร์กินาฟาโซใช้เส้นทางผ่านได้ทั้ง Togo และ Cote d’Ivoire แต่ปัจจุบันนี้จะนิยมใช้เส้นทางผ่าน Cote d’Ivoire มากกว่า Togo ถึงแม้ว่าเส้นทางที่ผ่าน Togo จะใกล้กว่าทาง Cote d’Ivoire เนื่องจากใน Cote d’Ivoire มีถนนที่เรียบและระบบการคมนาคมขนส่งที่ดีกว่า Togo

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1997 เป็นต้นมา รัฐบาลบูร์กินาฟาโซอนุญาตให้ธุรกิจการสั่งข้าวเข้ามาจำหน่ายในบูร์กินาฟาโซเป็นไปโดยเสรีโดยรัฐบายไม่เข้าไปแทรกแซงเช่นในอดีต โดยมีข้อกำหนด ดังนี้ (3)

1.      ผู้นำเข้าข้าวของบูร์กินาฟาโซต้องชำระค่าธรรมเนียมศุลกากร (Douane) ร้อยละ 12 ของราคาข้าวที่นำเข้ามา

2.      ต้องชำระค่าใบรับรอง (Certificate) ในการสั่งข้าวเข้ามาในบูร์กินาฟาโซ

3.      ต้องชำระค่าภาษีข้าว (tax) ที่นำเข้าข้าวประมาณ 250,000 ฟรังก์เซฟาต่อข้าว 1 ตัน

ในทางปฏิบัติผู้นำเข้าข้าวของบูร์กินาฟาโซมักจะใช้วิธีการเปิด LC (Letter of Credit) โดยมีการชำระเงินแก่เจ้าของข้าวผ่านทาง Eco Bank ซึ่งธนาคารนี้มีสาขาตั้งอยู่ในบูร์กินาฟาโซและประเทศในยุโรปให้การรับรองและเชื่อถือในการโอนเงิน (transaction) ผ่านธนาคารดังกล่าว

วิธีการสั่งข้าวเข้ามาจำหน่ายในบูร์กินาฟาโซ ผู้จำเข้าข้าวมักจะสั่งข้าวเข้ามาเก็บสำรองไว้ใน stock ครั้งละจำนวนมาก ๆ โดยไม่คำนึงถึงเรื่องการหมดอายุของข้าว (expiry) เพราะก่อนจะนำข้าวเข้าเก็บในโกดังจะมีการพ่นยาเพื่อยืดอายุของข้าว สาเหตุที่ต้องทำเช่นนี้เพราะการขนส่งข้าวเข้ามาในบูร์กินาฟาโซไม่สะดวกนักต้องใช้เส้นทางถนนผ่านทาง Cote d’Ivoire หรือ Togo เท่านั้น เนื่องจากบูร์กินาฟาโซเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล (land locked country) ฉะนั้นในแต่ละครั้งถ้าสั่งเข้าข้าวมายังบูร์กินาฟาโซปริมาณน้อย ๆ จะไม่คุ้มค่าขนส่ง และขาดความต่อเนื่องความต้องการของตลาดผู้บริโภคตามระเบียบปฏิบัติข้าวที่สั่งเข้ามาในบูร์กินาฟาโซแล้วไม่สามารถขายต่อให้กับประเทศอื่นเช่น มาลีได้ เนื่องจากได้ชำระค่าภาษีที่บูร์กินาฟาโซแล้ว ดังนั้น จะทำให้ข้าวราคาแพงขึ้นเพราะเสียภาษีเป็นสองต่อเมื่อถึงผู้บริโภคปลายทาง ในเรื่องนี้ถ้าผู้นำเข้าข้าวของบูร์กินาฟาโซประสงค์จะจำหน่ายข้าวที่สั่งเข้ามาไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่นมาลีด้วยจะต้องดำเนินการแยกข้าวเมื่อข้าวที่นำเข้ามาถึง Abidjan แล้วเพื่อชำระภาษีต่างหากแยกออกไปเพื่อเป็นการลดต้นทุน

 

เอกสารอ้างอิง 

1.      Burkina Faso for Business, Embassy of Burkina Faso New Delhi.

2.      Ibid (1)

3.      เอกสารเกี่ยวกับ UEMOA ได้รับจากสำนักงานใหญ่ UEMOA ในกรุงวากาดูกู ประเทศบูร์กินาฟาโซ

 

ภาพรวมทางเศรษฐกิจ

การเงินและการธนาคาร