วันที่นำเข้าข้อมูล 25 พ.ค. 2558
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
บูร์กินาฟาโซอยู่ห่างไกลจากทะเลประมาณ 1,000 กิโลเมตร และจัดอยู่ในกลุ่มประเทศด้อยพัฒนา เศรษฐกิจพื้นฐานของประเทศในขั้นปฐมภูมิหรือด้านการเกษตรพื้นฐาน (ระหว่างปี ค.ศ. 1986 – 19) มีอัตราร้อยละ 40 งบประมาณของประเทศเป็นส่วนที่มาจากรายได้เพียง 154 พันล้านฟรังก์เซฟา (ประมาณ 224 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา) ส่วนที่ขาดไป 176 พันล้านฟรังก์เซฟา (ประมาณ 279 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา) ต้องจัดทำเป็นงบประมาณขาดดุล มูลค่าหนี้ระหว่างประเทศประมาณ 830 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (1)
ผลผลิตมวลรวมประชาชาติของประเทศมีเพียง 1,235.5 พันล้านฟรังก์เซฟา ในปี ค.ศ. 1996 ในจำนวนนี้ร้อยละ 40 เป็นรายได้จากการเกษตรของประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธัญพืชที่ประเทศผลิตได้เพื่อการบริโภค เช่น ข่าวฟ่าง ข้าวโพด ข้าว รวมทั้งการผลิตฝ้ายประมาณ 2 แสนตัน นอกจากนั้น ผลผลิตด้านปศุสัตว์ทำรายได้สำคัญให้แก่ประเทศคิดเป็นรายละ 36 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ
บูร์กินาฟาโซมีการผลิตทำคำด้วยเช่นกัน และทำรายได้เป็นลำดับสามรองจากฝ้าย สัตว์เลี้ยง แต่ปริมาณการผลิตที่ได้มีจำนวนลดน้อยลงทุกปีจากปริมาณ 1,857 กิโลกรัมในปี ค.ศ. 1993 ลดลงเป็น 1,222.4 กิโลกรัมในปี ค.ศ. 1994 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลพยายามสนับสนุนให้เอกชนไปลงทุนสำรวจพื้นที่เพื่อขยายผลผลิตเพิ่มขึ้น จากการสำรวจพบแร่ทองคำสำรองประมาณ 1.6 ล้านตัน ขนาดเนื้อแร่ทอง 10.8 การัต จึงน่าจะเป็นแหล่งที่ทำรายได้ให้รัฐบาลต่อไป (2)
ในด้านดุลการค้า บูร์กินาฟาโซก็คล้ายกับประเทศในแอฟริกาส่วนใหญ่ที่ต้องประสบปัญหาการขาดดุลการค้า เนื่องจากความต้องการนำเข้าสินค้าจากภายนอกสูงแต่ผลผลิตภายใจมีปริมาณจำกัดและอยู่ในขั้นพื้นฐานเป็นส่วนใหญ่ ในปี ค.ศ. 1998 บูร์กินาฟาโซประสบการขาดดุลการค้าประมาณ 152 พันล้านฟรังก์เซฟาลดลงจากปี ค.ศ. 1997 และปี ค.ศ. 1996 เล็กน้อย ผลจากการลดค่าเงินในปี ค.ศ. 1994 ทำให้ระดับการส่งออกของประเทศมีการปรับตัวดีขึ้น
ความจำกัดในด้านทรัพยากรและการผลิตทางการเกษตรทำให้บูร์กินาฟาโซหันไปเน้นให้ความสำคัญด้านการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ ได้แก่ พื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศที่ติดทะเลทรายที่มีกองทราย (Sand Dunes) เป็นที่ดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยว ด้านตะวันตกของประเทศมีความเขียวชอุ่ม ประกอบด้วยน้ำตก Katifuguela รวมทั้งทิวเขาขนาดเล็ก เช่น Sindou และ Tenakorerou รวมทั้งการพิทักษ์รักษาสัตว์ป่า และสวนสัตว์ Safari ภายในประเทศและสิ่งที่ชาวบูร์กินาฟาโซมีความภาคภูมิใจเสนอต่อนักท่องเที่ยว คือ ฝีมือจักรสารและหัตถกรรม โดยเฉพาะความมีชื่อเสียงในการทำรูปโลหะทองเหลืองของชาวพื้นเมืองมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่มประเทศแอฟริกาตะวันตก
การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมของบูร์กานาฟาโซ
ระบบอุตสาหกรรมในบูร์กินาฟาโซยังไม่มีการพัฒนามากนัก มีบริษัทต่าง ๆ เพียง 60 กว่าบริษัทที่ดำเนินการเกี่ยวกับด้านอุตสาหกรรมภายในประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 เป็นต้นมา บูร์กินาฟาโซเริ่มนำระบบ Privatization เข้ามาใช้เพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น อุตสาหกรรมของประเทศเป็นเพียงอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลาง เช่น อุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตรต่าง ๆ (3)
การที่ระบบอุตสาหกรรมของบูร์กินาฟาโซยังไม่พัฒนาไปเท่าที่ควรเป็นเพราะต้องประสบกับอุปสรรค ดังนี้
1. ความจำกัดของตลาดภายใน
2. สินค้านำเข้าและส่งออกจากบูร์กินาฟาโซมีราคาสูงเนื่องจากไม่มีทางออกทะเล
3. พลังงานไฟฟ้าและน้ำมีราคาสูง
4. ข้อจำกัดในเรื่องกฎระเบียนทางศุลกากร
เขตประกอบอุตสาหกรรมที่สำคัญในบูร์กินาฟาโซพอจะจำแนกได้เป็นสองเขต ดังนี้
1. เขตศูนย์กลางอุตสาหกรรมบริเวณเมือง Bobo Dioulasso
เมือง Bobo Dioulasso ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่มีการเกษตรกรรมหนาแน่นจึงทำให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็กในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ความก้าวหน้าทางวัตถุนำความเจริญมาสู่เมืองศูนย์กลางอุตสาหกรรมและการค้าแห่งนี้เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1933 เมื่อมีการสร้างทางรถไฟ Abidjan – Niger ขึ้น ต่อมีปี ค.ศ. 1942 มีการก่อสร้างบริษัทน้ำมัน Citec ขึ้นและในปี ค.ศ. 1955 บูร์กินาฟาโซได้สร้างโรงกลั่นน้ำมันขึ้นภายในประเทศ นอกจากนั้น การส่งเสริมการผลิตฝ้ายเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของประเทศทำให้ Bobo Dioulasso เป็นศูนย์กลางการทอฝ้ายที่ใหญ่ที่สุดของบูร์กินาฟาโซ ในปัจจุบันนี้นอกเหนือไปจากผลิตภัณฑ์พื้นฐานประเภทอาหารและการเกษตรซึ่งบูร์กินาฟาโซพัฒนาขึ้นเป็นลำดับบูร์กินาฟโซยังได้เริ่มให้ความสำคัญกับการผลิตผลิตภัณฑ์เคมีและเครื่องจักรต่าง ๆ อีกด้วย
2. เขตศูนย์กลางบริเวณเมืองหลวง Ouagadougou
ความเจริญที่นำการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดย่อมมาสู่กรุงวากาดูกูนี้เริ่มจากการสร้างทางรถไฟมาสู่เมืองหลวงในปี ค.ศ. 1950 ทำให้พื้นที่ในเขตเมืองหลวงมีการขยายตัวของบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมคิดเป็นร้อยละ 64 ของจำนวนบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นทั้งหมดในบูร์กินาฟาโซ
นอกเหนือไปจากเขตอุตสาหกรรมที่สำคัญทั้ง 2 แห่งแล้วในบูร์กินาฟาโซยังมีการผลิตฝ้ายและปลูกอ้อยเพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรมรอบ ๆ บริเวณเมือง Koudougou และ Banfora
การพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ (textile) ของบูร์กินาฟาโซได้เริ่มต้นอย่างจริงจังตั้งแต่ปี ค.ศ. 1965 บริษัท Faso Fani ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่เมือง Koudougou ผลิตและทอฝ้ายเป็นสินค้าเพื่อใช้ภายในประเทศและเป็นสินค้าออกนำรายได้เข้าประเทศประมาณ 4 พันล้านฟรังก์เซฟาต่อปี
อุตสาหกรรมการผลิตฝ้ายที่กระจายอยู่ทั่วไปในบูร์กินาฟาโซ
หากพิจารณาสภาพภูมิศาสตร์ที่ตั้งแหล่งอุตสาหกรรมการผลิตฝ้ายในบูร์กินาฟาโซ จะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมการผลิตฝ้ายมีที่ตั้งกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปมิได้จำกัดในพื้นที่การผลิตแห่งใดแห่งหนึ่งโดยเฉพาะ สาเหตุดังกล่าวเนื่องจากเหตุผลการสร้างานแก่ประชากรในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ อีกทั้งยังเป็นการลดต้นทุนในการขนส่งอีกทางหนึ่งด้วย การพัฒนาการผลิตฝ้ายของบูร์กินาฟาโซมีการัชพัฒนาขึ้นไปเป็นลำดับจากปริมาณฝ้ายที่ผลิตได้ 85,000 ตันในปี ค.ศ. 1985 เพิ่มเป็น 202,630 ตันในปี ค.ศ. 1997ศูนย์อุตสาหกรรมการผลิตฝ้ายทั้งสิ้น 11 แห่งของบูร์กินาฟาโซซึ่งกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศสามารถผลิตใยฝ้ายได้ทั้งสิ้นประมาณปีละ 80,000 ตันในปี ค.ศ. 1997 จึงสรุปได้ว่าการผลิตฝ้ายเพื่อส่งเป็นสินค้าออกนำเงินตราเข้าประเทศประมาณ 40% ของปริมาณรายได้ทั้งหมดของประเทศหรือคิดเป็นเงินรายได้ 45 พันล้านฟรังก์เซฟา
การคมนาคม
โดยลักษณะที่ตั้งประเทศอยู่ห่างไกลจากทะเลแอตแลนติคประมาณ 1,000 กิโลเมตร เครือข่ายของการคมนาคมจึงเป็นหัวใจสำคัญของบูร์กินาฟาโซเช่นเดียวกับประเทศที่ไม่มีทางอกทะเลเช่นมาลีหรือไนเจอร์ ซึ่งต้องอาศัยทางลำเลียงสินค้าผ่านประเทศบูร์กินาฟาโซ
ถนน
บูร์กินาฟาโซมีเครือข่ายโครงการก่อสร้างถนนติดต่อกันทั่วประเทศประมาณ 21,00 กิโลเมตรในจำนวนนี้ 8,000 กิโลเมตรเป็นถนนสำคัญซึ่งแบ่งเป็น ทางหลวง ทางเขต ทางภูมิภาค ในปี ค.ศ. 1992 ได้เริ่มมีการปรับปรุงเส้นทางคมนาคมเพื่อเชื่อมต่อระหว่างภาคต่าง ๆ ทางถนนสำคัญ ๆ และประมาณร้อยละ 80 ของเส้นทาง 9,200 กิโลเมตรดำเนินไปเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 1997 ซึ่งมีถนนที่อยู่ในสภาพใช้การได้เพียงร้อยละ 20 การดำเนินการโครงการร้อยละ 90 ของการก่อสร้างถนนมีมูลค่ารวมในภาคค่าใช้จ่ายของรัฐบาลถึงร้อยละ 40 เป็นระยะทางถนนที่ดำเนินการก่อสร้าง 1,628 กิโลเมตรเป็นถนนลาดยาง 608 กิโลเมตรและไม่ลาดยาง 1,020 กิโลเมตร (4)
นโยบายการก่อสร้างถนนในส่วนท้องถิ่นดำเนินการไปพร้อมกับการปรับปรุงพัฒนาเส้นทางการติดต่อกับประเทศข้างเคียงตามโครงการของการติดต่อระหว่างประเทศสมาชิก ECOWAS ด้วยกัน โดยเฉพาะการปรับปรุงเส้นทางเขตเมืองที่ต่อกับโตโก (Koupela – Togo) และเส้นทาง Tougan Ouahigouya
สินค้าที่ขนส่งผ่านเส้นทานถนนส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทซีเมนต์ และวัสดุก่อสร้างติดตามด้วยน้ำมันเชื้อเพลิง นอกจากนั้นเป็นการใช้ถนนในแต่ละเขตท้องถิ่นเพื่อการขนส่งพืชผลเพื่อการค้า เช่น ฝ้าย ถั่วลิสง ไปยัง Ouagadougou และไปยังเมืองชายแดน Bobo Dioulasso เพื่อส่งต่อไปยัง Abidjan โดยทางรถไฟอีกทอดหนึ่ง ส่วนสินค้าประเภทอื่นมีพวกมะพร้าวและสินค้าอุตสาหกรรม
ยานพาหนะ
การขนส่งแห่งชาติของบูร์กินาฟาโซ (The Regie national des Transport) ซึ่งให้บริการในเขตเมืองหลวงได้แปรสภาพเป็นการบริการโดยภาคเอกชน และมีรถยนต์รับจ้างจำนวนมากเข้าร่วมการบริการ ในปี ค.ศ. 1996 ประมาณว่ามีรถยนต์แท็กซี่เพื่อการบริการจำนวน 1,160 คัน (800 คนให้บริการที่เมืองหลวงและอีก 350 คันที่เมือง Bobo Dioulasso และอีก 10 คนในต่างท้องที่ออกไป) ปี ค.ศ. 1997 มีโครงการทดแทนรถเก่าด้วยรถใหม่จำนวน 118 คัน
พาหนะส่วนบุคคล
ในปี ค.ศ. 1997 มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในประเทศรวม 51,744 คัน โดยประมาณร้อยละ 70 อยู่ในเขตเมืองหลวงที่น่าสังเกตคือช่วงระยะปี ค.ศ. 1996 – 1997 จำนวนรถยนต์ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 27.28 จำนวนยานพาหนะส่วนบุคคลที่ใช้เพื่อการขนส่งสาธารณะมีเพียงร้อยละ 5 รถแวนมีประมาณร้อยละ 18.13 ของจำนวนยานพาหนะ
ทางรถไฟ
ทางรถไฟ Regir Abidjan-Niger (RAN) ซึ่งเคยแยกกันบริหารในแต่ละส่วนโดยบูร์กินาฟาโซและโกตดิวัวร์ได้เปลี่ยนสภาพเป็นบริษัท Sitarail ดำเนินกิจการรถไฟระยะเวลา 15 ปีนับจากวันที่ 12 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1994 เป็นต้นไป Sitarail รับผิดชอบการปรับปรุงตัวรถจักรและสิ่งก่อนสร้าง โดยแต่ละประเทศยังคงมีกรรมสิทธิ์ในสิ่งก่อสร้างในเขตของตน
เส้นทางรถไฟระหว่าง Ouagadougou – Abidjan (ระยะทาง 1,145 กิโลเมตร) อยู่ในเขตบูร์กินาฟาโซ 517 กิโลเมตรมีรถไฟบริการสัปดาห์ละ 3 เที่ยวลดจำนวนเที่ยวจากที่เคยบริการวันละเที่ยว และปริมาณผู้โดยส่วนก็ลดลงเกือบ ¼ เมื่อเทียบกับปี ค.ศ. 1987 (จำนวนผู้โดยสาร 1,581,977) กับในปี ค.ศ. 1996 – 1997 เหลือจำนวนผู้โดยสารเพียง 440,000 คน เส้นทางรถไฟแวะจอดตามเมือง Koudougou, Bobo Dioulasso และ Banfora เพื่อรองรับการขนส่งทางรถไฟ รัฐบายมีดำริจะขยายทางรถไฟเพิ่มอีกประมาณระยะทาง 353 กิโลเมตรไปยังเมือง Tambao ผ่านเมือง Kaya เพื่อใช้ขนถ่ายหินแร่ (Magnesium Ore) ในปี ค.ศ. 1997 มีการขนส่งหินแร่จำนวน 8,700 ตันบนเส้นทางที่สร้างเสร็จแล้วช่วง Ouagadougou – Kaya และต่อไปยังโกตดิวัวร์ และเส้นทางรถไฟดังกล่าวระหว่าง Ouagadougou – Abidjan ยังเป็นเส้นทางสำคัญเพื่อการขนส่งสินค้าระหว่างสองประเทศโดยการลำเลียงเชื้อเพลิงประมาณ 72,337 ตัน และถ่านหินประมาณ 197,285 ตันเข้ามายัง Ouagadougou ขณะที่บูร์กินาฟาโซส่งสัตว์เลี้ยงลำเลียงผ่านทางรถไฟดังกล่าวและสินค้าต่าง ๆ ปริมาณ 291,000 ตันส่งไปยังโกตดิวัวร์เพื่อการกระจายการส่งออก
การติดต่อทางทะเล
แม้บูร์กินาฟาโซจะไม่มีทางออกทางทะเลแต่บูร์กินาฟาโซอาศัยใช้เมืองท่าจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อการขนส่งสินค้า เช่น Abidjan (Cote d’Ivoire), Lome (Togo), Cotonou (Benin) และ Tema (Ghana) การใช้เมืองท่าเป็นส่งจำเป็นเพื่อลดภาระการขนส่งเข้าไปในประเทศ บูร์กินาฟาโซจึงจัดตั้งตัวแทนขึ้นประจำทางเมืองท่าต่าง ๆ เช่นที่เมืองท่า Cotonou (ค.ศ. 1992) และเมืองท่า Tema (ค.ศ. 1997) จัดตั้งคณะกรรมการดูแลการขนส่งทางทะเลเพื่อศึกษาการประหยัดต้นทุนการขนส่ง
ทางอากาศ
บูร์กินาฟาโซมีท่าอากาศยานสำคัญ 2 แห่ง คือ ที่เมืองหลวง Ouagadougou และทางเมืองใหญ่ด้านตะวันตก Bobo Dioulasso สายการบินต่างประเทศที่เดินทางไปมาประจะกับสนามบินวากาดูกู คือ Air Afrique, Air France, SABENA, Air Ivoire, Air Algeria, Ghana Airways และ Nouvelles frontiers สำหรับสายการบินจากต่างประเทศจะใช้แต่ทาอากาศยาน Ouagadougou (4) เท่านั้น
ในแต่ละปีประมาณว่ามีเที่ยวบินออกจาก Ouagadougou ประมาณ 1,500 เที่ยวในปี ค.ศ. 1997 ประมาณว่ามีผู้โดยสายจำนวน 189,258 คนลดลงจากปี ค.ศ. 1990 ซึ่งมีผู้โดยสารจำนวน 201,023 คน และการขนส่งสินค้าผ่าน Ouagadougou ประมาณ 6,999 ตัน เทียบกับ 9,543 ตันในปี ค.ศ. 1990
สายการบินแห่งชาติจะรับผิดชอบการติดต่อกับประเทศใกล้เคียง เช่น Cote d’Ivoire สัปดาห์ละ 4 เที่ยวเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 1997 (จำนวนผู้โดยสาร 27,600 คน ปี ค.ศ. 1996) โตโก (จำนวนผู้โดยสาร 14,600 คน) มาลี (จำนวนผู้โดยสาร 8,000 คน) และยังมีการติดต่อกับ Benin และ Niger ด้วย การดำเนินงานของสายการบินแห่งชาติอยู่ในระดับเลี้ยงตัวเองได้ในระดับบัญชีงบดุลเสมอตัว รัฐบาลจึงแปลงสภาพบริษัทเป็นการดำเนินการโดยเอกชน รัฐบายถือหุ้นในอัตราร้อยละ 25
การโทรคมนาคม
รัฐบาลได้ขยายปรับปรุงศูนย์การติดต่อโทรคมนาคมระบบอัตโนมัติ 45 ศูนย์ระหว่างปี ค.ศ. 1992 – 1997 มีผลให้การขยายการโทรคมนาคมเข้าไปในชนบทโดยในจำนวนศูนย์ที่ติดต่อโดยใช้พนักงานติดต่อเพียง 23 ศูนย์ในปี ค.ศ. 1997 ลดจาดจำนวนเดิม 70 ศูนย์ในปี ค.ศ. 1992 การใช้โทรศัพท์มือถือจำกัดอยู่เฉพาะในเขตเมืองหลวง Ouagadougou และ Bobo Dioulasso เท่านั้น
เอกสารอ้างอิง
1. Le developpement de la Zone Franc CFA, UEMOA/CEMAC, Octobre 1998.
2. Ibid (1)
3. เอกสารเกี่ยวกับ UEMOA ได้รับจากสำนักงานใหญ่ UEMOA ในกรุงวากาดูกู ประเทศบูร์กินาฟาโซ
2. Ibid (3)