รู้จักประเทศ

รู้จักประเทศ

วันที่นำเข้าข้อมูล 25 พ.ค. 2558

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 4,562 view

สาธารณรัฐแกมเบีย

 

ชาวโปรตุเกตเป็นชนชาติแรกที่เดินทางเข้าไปสำรวจพื้นที่ในแกมเบียราวต้นทศวรรษที่ 15 โดยได้เริ่มเข้าไปในพื้นที่เกาะ St. Mary ต่อมาพ้นที่ที่ตั้งแกมเบียนในปัจจุบันบริเวณเกาะ Bathurst หรือเกาะบันจูลถูกคราอบครองโดยฝรั่งเศส ในต้นศตวรรษที่ 19 แกมเบียเป็นดินแดนในอารักขา (protectorate) และในราวปลายศตวรรษที่ 19 ได้ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษโดยสมบูรณ์ (1) 

ผลจากนโยบายต่ออาณานิคมของอังกฤษในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สองที่ต้องการให้อาณานิคมภายใต้เมืองแม่สามารถพึ่งพาและเลี้ยงตัวเองได้ กล่าวคือ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภายในอาณานิคมต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่หาได้ภายในอาณานิคมนั้นเอง ทำให้แกมเบียสามารถเพิ่งพาตนเองได้ตั้งแต่แรกจากการผลิตข้าวเพียงพอต่อการบริโภค และผลิตถั่วลิสงเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ มีการผลิตฝ้ายด้วยแม้จะไม่เป็นที่นิยมในขณะนั้นเพราะราคาถั่วลิสงสามารถทำรายได้ดีกว่า ประกอบกับมีสินค้าฝ้ายจากอังกฤษจำหน่ายในราคาต่ำทำให้การผลิตฝ้ายไม่ประสบผลสำเร็จ (2) 

การผลิตที่สำคัญอีกชนิดในสมัยต้น ๆ คือ การผลิตยางซึ่งนำรายได้สูงให้แกมเบียอยู่ระยะหนึ่งในปลายศตวรรษที่ 1119 แต่ผลผลิตภายหลังลดลงเพราะมีการทำลายต้นไม่และขาดการปลูกทดแทน 

แกมเบียได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี ค.ศ. 1965 โดยในปี ค.ศ. 1963 แกมเบียเริ่มจัดตั้งให้มีรัฐบาลภายในของตนเอง (internal self-government) ผู้ว่าการจากอังกฤษมิได้เป็นสมาชิกของคณะรัฐบาลอีกต่อไป แต่จะมีหน้าที่ความรับผิดชอบควบคุมด้านการตำรวจและการต่างประเทศ แกมเบียยังยอมรับนับถือพระราชินีอังกฤษในฐานะประมุขของประเทศนาย Dawda Jawara ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของแกมเบีย (3) 

ในปี ค.ศ. 1970 แกมเบียได้เปลี่ยนการปกครองเป็นระบบสาธารณรัฐ (Republic) ประธานาธิบดี Sir Dawda Jawara ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น ประธานาธิบดีคนแรก โดยการออกเสียงประชามติและต่อมาชนะการเลือกตั้งทั่วไปในปี ค.ศ. 1992 เป็นการดำรงตำแหน่งสืบติดต่อกันเป็นวาระที่ 5

ต่อมาจากปัญหารัฐบาลไม่สามารถจ่ายเงินเดือนประมาณ 9 เดือนเศษแก่ทหารอาสาสมัครแกมเบียที่ปฏิบัติการภายใต้สหประชาชาติในไลบีเรียและเซียร์ราลีโอน ทำให้ประธานาธิบดีถูกผู้นำทหารในวัยหนุ่ม ร.ท. Yahya A.J.J. Jammeh เข้ายึดอำนาจการปกครองโดยปราศจากการนองเลือดในปี ค.ศ. 1994 ซึ่งต่อมาจากผลการเลือกตั้งทั่วไปในปี ค.ศ. 1996 พ.อ. Yahya ได้รับชัยชนะและขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจนถึงปัจจุบัน อันเป็นการเปลี่ยนการปกครองจากผู้นำทหารไปสู้พลเรือนโดยการเลือกตั้ง (4)

ในส่วนความสัมพันธ์กับอังกฤษแกมเบียยังคงความผูกพันกับประเทศเมืองแม่เหมือนประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาก่อน โดยการเข้าเป็นสมาชิก Commonwealth of the Nations แต่แกมเบียมิได้ถือพระราชินีของอังกฤษเป็นประมุขของประเทศอีกต่อไป

ปัจจุบัน ประเทศแกมเบียมีสถานะเป็นที่ยอมรับในองค์การระหว่างประเทศโดยเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ OAU, OIC, NAM, ECOWAS, UNDP, IDA, UNESCO, UNCTAD, UNIDO, WHO และ  WTO


การคมนาคม

ประเทศแกมเบียตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกสุดของทวีปแอฟริกา พื้นที่ประเทศถูกโอบล้อมด้วยประเทศเซเนกัลจึงมีการติดต่อกับกรุงดาการ์เป็นประจำโดยเรือโดยสาร (ferry) ที่วิ่งเลียบฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติคใช้เวลาการเดินทางทางเรือจากกรุงดาการ์ถึงกรุงบันจูลประมาณ 3 ชั่วโมง หากเดินทางทางรถยนต์จากกรุงดาการ์ถึงกรุงบันจูลทางข้ามแพขนานยนต์ปากแม่น้ำแกมเบียใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง แต่ถนนบางช่วงมีสภาพไม่ดีนัก (จาก Serrekunda – ถึงด้านศุลกากร Senegal – ท่าข้ามฟาก BANJUL)

นอกจากเส้นทางคมนมคมทางน้ำแล้วในกรุงบันจูลยังมีท่าอากาศยานแห่งชาติที่สำคัญ คือ ท่าอากาศยาน Yundum โดยมีเที่ยวบินที่มาจากต่างประเทศทั้งยุโรปและจากประเทศแอฟริกาเอง การเดินทางโดยเครื่องบินจากกรุงดาการ์ถึงท่าอากาศยาน Yundum (Air Afrique) ใช้เวลาประมาณ 40 นาที มีเที่ยวบินประจำทุกวัน (7 วัน) สำหรับ Air Senegal จะมีเที่ยวบินประจำวันละ 2 เที่ยว สายการบินอื่น ๆ มี อาทิ Sabena, Ghana Airways, Cabo Verda Airlines, Air Guinee, Air Dabia


ถนนและการติดต่อในแกมเบีย

ถนนในประเทศแกมเบียที่ใช้เป็นทางรถยนต์เพื่อวัตถุประสงค์ในการเดินทางและการขนส่งสินค้ามีความยาวประมาณ 981 กิโลเมตร ซึ่งพื้นที่ถนน 53% มีการราดยางหรือทำทางไว้เพื่อรถวิ่งแล้ว เส้นทางที่สำคัญตั้งแต่เหนือลงมาทางใต้สำหรับการค้าการลงทุนคือถนนสาย Essua – Farafenni ซึ่งมีความยาว 109 กิโลเมตรระยะทางนี้รวมทั้งสะพานใหม่ที่ก่อสร้างแล้วความยาว 350 เมตร 

สำหรับโครงการการปรับปรุงเส้นทางคมนาคมที่ได้ดำเนินการไปบ้างแล้วและกำลังจะก่อสร้างใหม่ในแกมเบียคือ ถนนวงแหวนเชื่อมระหว่างบันจูลและท่าอากาศยานยันดัม รวมทั้งการพัฒนาพื้นที่สำหรับนักท่องเที่ยว การปรับปรุงเส้นทาง highway ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างด้านเหนือและด้านใต้ของเซเนกัลเพื่อประโยชน์ในการขนถ่ายสินค้าไปมาระหว่างสองประเทศ นอกจากนั้น ยังมีการขยายถนนช่วง Banjul – Serrekunda – Brikama (เป็นเขตการค้าสำคัญใกล้สนามบิน Yundum) ด้วยเช่นกันเพื่อวัตถุประสงค์ในการเชื่อมต่อและขยายศูนย์กลางการใช้ให้กว้างขวางขึ้นในแกมเบีย


เรือข้ามฟาก เซเนกัล - แกมเบีย /  แกมเบีย - เซเนกัล

เรือข้ามฟาก Trans – Gambia Service และ Kerewan Ferry Service ใช้ข้ามฟากระหว่างฝั่งเซเนกัลและแกมเบีย เชื่อมต่อระหว่างด้านเหนือและด้านใต้ของฝั่งแม่น้ำแกมเบียไปตามเส้นทางเชื่อมต่อที่สั้นที่สุดกับเซเนกัล ปกติจะมีการวิ่งข้ามฟากทุก 2 ชั่วโมงใช้ทั้งการขนส่งผู้โดยสานยานพาหนะและสินค้าไปในตัว

การขนส่งสินค้ามีเรือเดินสมุทรที่บรรทุกสินค้ามาจากทวีปต่าง ๆ และแวะจอดเทียบท่าที่เท่าเรือบันจูล (Banjul Port) ดังนี้

1.      บริษัท Maersk line เดินทางมาจากประเทศเซเนกัลเป็นประจำทุก 9 วัน

2.      บริษัทเรือ Maritime line-Europe เดินทางมายังท่าเรือบันจูลทุก ๆ สัปดาห์

3.      บริษัทเรือ OT Africa Line-Europe เดินทางมายังท่าเรือบันจูลทุก ๆ สัปดาห์

4.      บริษัทเรือ CMBT Line-Europe / America เดินทางมายังท่าเรือยันจูลทุก ๆ สัปดาห์

5.      บริษัทเรือ Torm Line-West Africa เดินทางมายังท่าเรือบันจูลทุก ๆ สัปดาห์

6.      บริษัทเรือ Delmas line-Europe / Africa เดินทางมายังท่าเรือบันจูลทุก ๆ สัปดาห์

นอกเหนือจากเรือเดินสมุทรดังกล่าวข้างต้น ยังมีเรื่อสัญจรขนาดเล็กซึ่งเดินทางมาจากประเทศปากีสถาน ประเทศกรีซ แระเทศโรมาเนีย ประเทศไทย และประเทศอินเดียอีกเป็นครั้งคราว ในการคมนาคมขนถ่ายสินค้าจาก Banjul Port ไปยังภูมิภาคอื่นๆ  ของประเทศแกมเบียนั้นมักจะใช้รถบรรทุกในการขนส่งต่อมากกว่าทางน้ำ


การสื่อสารและโทรคมนาคม

ปัจจุบันระบบสื่อสารและโทรคมนาคมของแกมเบียยังอยู่ในลักษณะจำกัดไม่เพียงพอกับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของประชาชนในเขตเมืองและชานเมือง ระบบชุมสายโทรศัพท์ที่ใช้มีเพียงสองชุมสาย คือ (5)

1.      Alcatel – E10B ให้บริการในเขตกรุงบันจูลและพื้นที่ด้านเหนือของแม่น้ำแกมเบียโดยใช้คลื่น Microwave

2.      Alcatel OCB 283 ให้บริการในเขตเมือง Serrekunda และในพื้นที่ส่วนอื่นๆ  อีกแปดแห่งโดยใช้ระบบคู่สาย
        ได้แก่พื้นที่เขต Bakau, Kotu, Yundum, Brikama, Soma, Farafenni, Bansang และ Basse

การพัฒนาด้านการสื่อสารและโทรคมนาคมเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1984 มีการจัดตั้งเป็นรูปบริษัทโทรคมนาคม (Gamtel – the Gambia Telecommunications Company) โดยรับงานด้านโทรคมนาคมในความรับผิดชอบของกรมโทรคมนาคม กระทรวงการสื่อสารและโทรคมนาคม (The Ministry of Works and Telecommunications) มาดำเนินโดยเฉพาะงานรับผิดชอบด้านการสื่อสารภายในประเทศ (inland services) และระบบสายเคเบิลติดต่อภายนอกกับระบบการติดต่อระบบไมโครเวฟสำหรับการสื่อสารภายนอกประเทศ (international services)

จำนวนโทรศัพท์และประเภทการใช้งานภายในประเทศแกมเบียสามารถแยกประเภทได้ดังนี้

1.      โทรศัพท์คู่สายที่มีอยู่ทั้งหมดภายในประเทศจำนวน 20,855 คู่สาย

2.      โทรศัพท์สาธารณะที่ใช้ระบบหยอดเหรียญจำนวน 171 เครื่อง

3.      โทรศัพท์ที่ใช้ระบบการ์ด (card phone) จำนวน 61 เครื่อง

การให้บริการของบริษัท Gamtel มีพัฒนาการและก้าวหน้าขึ้นไปเป็นลำดับดังนี้

1.      ให้บริการด้านโทรศัพท์ โทรเลข และแฟกส์

2.      ให้บริการการสื่อสารกับต่างประเทศผ่านทางสถานีดาวเทียมอาบูโก (the Abuko Satellite Earth station)
         การดำเนินการของสถานีดามเทียวอาบูโกนี้ใช้ระบบตัวเลขในการถอดคำพูดสื่อสารออกมา
         (Digital Speech interpolation) ฉะนั้น แกมเบียสามารถติดต่อตรงทางสายโทรศัพท์กับ
         ต่างประเทศถึง 200 ประเทศ แต่ค่าบริการยังอยู่ในอัตราสูง

การให้บริการสื่อสารของ Gamnet มีเครือข่ายเชื่อมโยงกับ Telecom ของอังกฤษและ Tymnet ของสหรัฐอเมริกาซึ่งให้บริการการสื่อสารที่ทันสมัย เช่น E-Mail อินเตอร์เน็ต การแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านทางเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ การใช้บัตรเครดิต เป็นต้น

นอกจากนี้ แล้วการให้บริการด้านการสื่อสารของแกมเบียได้รับการพัฒนาให้ทันต่อความก้าวหน้าของระบบสื่อสารของโลกปัจจุบัน แกมเบียเริ่มเปิดใช้บริการโทรศัพท์มือถือ Cellular Phone Service (GAMCEL) ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1992 และการให้บริการสื่อสารระบบ Paging และ voice Mail ซึ่งผู้ใช้บริการทางโทรศัพท์สามารถสื่อสารข้อความที่ต้องการทางโทรศัพท์ไปยังผู้รับที่เป็นสมาชิก การให้บริการแบบ paging service นี้ยังสามารถเชื่อมโยงเช้ากับระบบ cellular และระบบสายโทรศัพท์บนพื้นดินได้อีกด้วย

 

เอกสารอ้างอิง 

(1) Time Almanac 1999, Des Moines, IA
(2) A History of The Gambia. Edward Francis Small Printing Press, The Gambia
(3) The Gambia Social and Environmental Studies Mc, Milan, Malaysia
(4) The Gambia & Senegal, Lonely Planet, London
(5) The Entrepreneur, Journal Vol 2 No. 3 November, 1990

 

หน้าหลัก

ภาพรวมเศรษฐกิจ