ภาพรวมเศรษฐกิจ

ภาพรวมเศรษฐกิจ

วันที่นำเข้าข้อมูล 25 พ.ค. 2558

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 3,913 view

ภาพรวมเศรษฐกิจ

 

แกมเบียเป็นตลาดขนาดเล็ก พลเมืองประมาณ 13 ล้านคนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม ผลผลิตสำคัญ คือ ถั่วลิสง (groundnuts) คิดเป็นรายได้ประมาณร้อยละ 90 ของการส่งออกของประเทศ อาชีพสำคัญที่รองลงมา คือ การประมงและการเลี้ยงสัตว์ กำลังแรงงานในภาคเกษตรกรรมคิดเป็นร้อยละ 85 ของกำลังแรงงานของประเทศ (active population)

ชาวแกมเบียนิยมบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก รวมทั้งอาหารพื้นบ้านที่ผลิตเพื่อการบริโภค เช่น ข้าวฟ่าง และข้าวโพด การผลิตข้าวภายในประเทศยังไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ แม้จะได้รับความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีด้านข้าวจากไต้หวันและผู้เชี่ยวชาญด้านข้าวจากอินโดนีเซีย ส่งบุคลากรไปให้ความรู้ด้านการปลูกข้าวในแกมเบีย

แหล่งน้ำสำคัญของแกมเบียได้จากแม่น้ำแกมเบียที่ช่วยในการเพาะปลูกครอบคลุมบริเวณพื้นที่กว่าครึ่งของประเทศตั้งแต่เมือง Wassu ตอนบนจนถึง Baboon Islands ตอนล่าง สองฟากฝั่งบริเวณดังกล่าวจะได้รับน้ำจืดจากแม่น้ำแกมเบียเกือบตลอดทั้งปี มีผลช่วยการเกษตรและปลูกข้าวได้ดี แต่ในฤดูแล้ง คือ เดือน มิถุนายน – ตุลาคม น้ำในแม่น้ำแกมเบียจะลดระดับลงทำให้น้ำในมหาสมุทรแอตแลนติคซึ่งรายรอบบริเวณที่ตั้งกรุงบันจูลจะไหลทวนกระแสแม่น้ำแกมเบียลึกเข้าไปในบริเวณที่เป็นน้ำคิดเป็นระยะทางประมาณ 150 กิโลเมตร ทำให้พื้นที่ทำการเพาะปลูกและพืชผลทางการเกษตรเสียหาย เนื่องจากไม่สามารถทนต่อน้ำเค็มได้ และเป็นเหตุผลหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าแม้ว่าประเทศแกมเบียจะได้รับน้ำจืด (fresh water) จากแม่น้ำแกมเบียตลอดทั้งปี แต่การผลิตข้าวไม่สามารถจะได้รับผลเต็มเม็ดเต็มหน่วย ฉะนั้น ประเทศแกมเบียจึงต้องพึ่งพาการนำเข้าข้าวจากต่างประทศและประเทศไทยต่อไป

เศรษฐกิจของประเทศแกมเบียจัดเป็นระบบเศรษฐกิจขนาดเล็ก การพัฒนาจำเป็นต้องพึ่งพาเงินทุนจากภายนอกประเทศเป็นหลัก ตามสถิติเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศระบุว่าตั้งแต่ประเทศแกมเบียได้รับเอกราช รัฐบาลของประเทศแกมเบียยังไม่เคยดำเนินงานโครงการขนาดใหญ่ที่ตั้งใช้เงินลงทุนมาก (large-scale projects) มาก่อนเลยเพิ่งจะมีการตื่นตัวและเริ่มโครงการพัฒนาในระยะหลังนี้โดยอาศัยเงินลงทุนสนับสนุนจากต่างประเทศ

ในส่วนที่ทำรายได้เข้าประเทศที่สำคัญ คือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งนับว่าได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว กรุงบัลจูลมีท่าอากาศยานยุนดัม เปิดดำเนินการในปี ค.ศ. 1980 (เริ่มก่อสร้างลานบินตั้งแต่สมัยยังอยู่ในการปกครองของอังกฤษ) และในปี ค.ศ. 1997 ท่าอากาศยานใหม่ได้เปิดให้บริการด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยมากขึ้น ท่าอากาศยานที่ปรับปรุงใหม่นี้มีทั้งเที่ยวบินภายในประเทศและจากประเทศในทวีปแอฟริกาเพื่อนบ้าน และเที่ยวบินระหว่าประเทศไว้บริการโดยมีเที่ยวบินเพิ่มมากขึ้นในระหว่างช่วงฤดูการท่องเที่ยว

เที่ยวบินเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมาจากอังกฤษและประเทศในสแกนดิเนเวีย และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 เป็นต้นมา โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนโรงแรมสำคัญ ๆ ในแกมเบียได้จัด charter flights เป็นครั้งแรกนำนักท่องเที่ยวจากประเทศอังกฤษมาลงที่กรุงบันจูลในช่วงฤดูการ off season ในยุโรป ปัจจุบันนี้เนื่องจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศแกมเบียได้รับผลเป็นที่น่าพอใจจึงทำให้ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาประเทศนี้จำนวนเพิ่มขึ้นมาก ทำให้อุตสาหกรรมโรงแรมขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยมีชาวต่างประเทศมาลงทุนสร้างโรงแรมระดับ 3 – 5 ดาวขึ้นหลายแห่ง มีผลให้อุตสาหกรรมก่อสร้างในกรุงบันจูลและรอบ ๆ บริเวณข้างเคียงขยายตัวไปด้วย

 

นโยบายการค้าและการลงทุน

แกมเบียใช้ระบบการค้าแบบเสรีจัดเก็บภาษีศุลกากรตามมาตรฐานการกำหนดมูลค้าสินค้า (BRISSELS definition of value) ไม่มีมาตรการจำกัดปริมาณการนำเข้า ไม่มีระบบโควตา ผู้ส่งออกไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตเพื่อการส่งออกหรือนำเข้า แต่แกมเบียมีการอนุวัตการใช้กฎระเบียบว่าด้วยมาตรฐานกำเนิดสินค้า (standardized rule of origin criteria) ตามกฎเกณฑ์ของ ECOWAS และอนุสัญญา LOME

อย่างไรก็ตาม แกมเบียมีระเบียบห้ามนำเข้าเอกสารสิ่งตีพิมพ์หรือภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับภาพลามกอนาจาร (Pornography) เพชรที่ยังไม่เจียรนัย อุปกรณ์เครื่องทำกุญแจ อุปกรณ์การดักจับสัตว์ แก๊สพิษ (noxious gas) อาหารที่ไม่เหมาะสมกับการบริโภคตามคำวินิจฉัยแพทย์ วัตถุต้องห้ามเพื่อการนำเข้ามี อาวุธปืน กุญแจมือ ดิน-วัตถุระเบิด มีระบบการยกเว้นภาษีภายใต้กฎหมายการลงทุน (1)

ในส่วนนโยบายเศรษฐกิจพื้นฐานที่เกี่ยวกับการค้า แกมเบียกำหนดไว้ในนโยบายเศรษฐกิจที่จะขยายการผลิตเพื่อการส่งออก ดำเนินนโยบายให้สามารถผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงตัวเองได้ ขยายการค้าประเภทพืชผลทางเศรษฐกิจที่ทำรายได้แก่ประเทศ รวมทั้งการขยายตลาดการค้า โดยมุ่งส่งใช้ผลิตภัณฑ์ในประเทศเป็นฐานในการผลิตและให้ผลตอบแทนด้านการลงทุน ขยายผลในด้านการผลิตส่งผลิตทางประมงและปศุสัตว์ พืชผล หัตถกรรม และสร้างบรรยากาศทางธุรกิจในหลักการของการค้าเสรี (The Gambia Trade Guide 1997 – 98)

 

การค้าระหว่างประเทศ

ประเทศคู่ค้าสำคัญของแกมเบีย ได้แก่ สหราชอาณาจักร (ปี 1977) ฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน โกตดิวัวร์ สาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น สเปน เซเนกัล มาลาวี (2)

สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ อาหาร ยาสูบ เครื่องดื่ม เครื่องจักร เครื่องไฟฟ้าและอุปกรณ์ อุปกรณ์ยานพานะ และเสื้อผ้ารวมมูลค้าสินค้านำเข้าในปี 1997 มูลค่า 1,773,799,000 ดาลัสซี หรือ 1.7 พันล้านดาลัสซี 

สินค้าออกที่สำคัญ ได้แก่ ถั่วลิสงพร้อมเปลือก ปลาและผลิตภัณฑ์ปลา หนังสัตว์ ผลไม้และผัก และอื่น ๆ

นักธุรกิจแกมเบียส่วนหนึ่งดำเนินการค้าในลักษณะนำเข้าเพื่อส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพื่อหาเงินตราต่างประเทศไว้ชำระราคาสินค้านำเข้า ปัญหาการปิดชายแดนเซเนกัล-แกมเบียในปี 1996 ทำให้มูลค่าการค้ารวม (นำเข้าและส่งออก) ลดลงจาก 2.8 พันล้านดาลัสซีในปี 1996 เหลือ 1.9 พันล้านดาลัสซีในปี 1997 

 

การนำเข้าเพื่อส่งออก (Re-Export trade)

การนำเข้าเพื่อส่งออกเป็นการค้าที่ทำรายได้สำคัญให้นักธุรกิจชาวแกมเบียโดยเฉาะการค้ากับประเทศในภูมิภาค เนื่องจากแกมเบียมีท่าเรือสำหรับเดินสมุทรและรับส่งสินค้าที่ค่อนข้างทันสมัย รวมทั้งอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้าครบครัน แม้ในระยะหลังจะมีปัญหาการถูกปิดพรมแดนจากประเทศเพื่อนบ้าน สินค้าที่อยู่ในการค้าประเภทนำเข้าเพื่อส่งออกสำคัญ คือ สิ่งทอ รองเท่า เสื้อผ้า อาหารประเภทนม ข้าว น้ำตาล ชาเขียว ยาสูบ บุหรี่ เหล็กแผ่น เครื่องดื่ม และแบตเตอรี่ ประเทศที่เป็นคู่ค้าสำคัญในด้านการค้าประเภทนี้คือ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา สำหรับประเทศในภูมิภาค คือ กินีบิสเซา มาลี และเซเนกัล สินค้าที่จัดอยู่ในการส่งออกประเภทนี้ส่วนใหญ่อยู่ในอุปกรณ์ด้านผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและสินค้าประเภทอาหาร (3)

 

เอกสารอ้างอิง 

(1) External Trade Statistics of The Gambia, Department of State for Finance and Economic Affaires, July, 1998

(2) External Trade Statistics of The Gambia, Department of State for Finance and Economic Affaires, July, 1998

(3) The Gambia Trade Guide and Business Directory 1997 – 1998, The Ministry of Trade, Industry
      and Employment, The Gambia Chamber of Commerce and Industry

 

 

 

รู้จักประเทศ 

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับไทย